สรุปรายงาน
สถานที่ฝึกงาน ณ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต บางเขน
นักศึกษาฝึกงาน จำนวน 3 คน ได้แก่ นางสาวชนากานต์ ขันธรรม (เจ้าของ Bloger)
นางสาวสุพัชรี แก้วเหล็กไหล
นายศรนารายณ์ บุญขวัญ
เวลา 09.00 น.- 16.00 น
เข้าพบ อาจารย์ เพ็ญสุภา แก้วพิทยาภรณ์ งานการลงรายการและวิเคราะห์หมวดหมู่วิทยานิพนธ์/ปัญหาพิเศษ
ได้อธิบายเนื้อหาการลงรายการบรรณานุกรมของวิทยานิพนธ์และนโยบายการรับเล่มวิทยานิพนธ์ ขั้นตอนการปฏิบัติงานเป็นลำดับขั้นตอน ดังต่อไปนี้
นโยบายการรับตัวเล่มวิทยานิพนธ์
- จัดเก็บวิทยานิพนธ์ของ มก. เป็นหลักอันดับแรก
- บุคลากร อาจารย์ ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่ทำวิทยานิพนธ์และมีความประสงค์นำมาเผยแพร่
- วิจัยสำหรับจบจะรับเข้ามาพิจารณาเข้าหอสมุด มก.
ลำดับการเตรียมลงรายการ
1. ส่งใบบันทึกตัวเล่มมาที่สำนักหอสมุด มก. ตรวจสอบรายชื่อและลำดับที่ตรงกันหรือไม่
เตรียมตัวเล่มก่อน catalog
- เขียนเลขลำดับ
- ประทับตราในตัวเล่ม
- ลงวันที่ที่ลงรายการ
2. เอาขึ้นชั้นเพื่อนำไปเช็คซ้ำ
3. ผู้ปฏิบัติงานบริหารจำนำไปเช็คซ้ำกับระบบ Millennium
4. นำขึ้นชั้นสำหรับรอลงรายการ
5. บรรณารักษ์เช็คซ้ำอีกรอบหากผิดพลาดบรรณารักษ์จะต้องแก้ไขให้ถูกต้องไม่ว่าจะกรณีใดๆ
6. อ่านหรือพิจารณาเนื้อหาในวิทยานิพนธ์แล้วนำมาเป็นการกำหนดหัวเรื่อง
7. คีย์ข้อมูลลงฐานข้อมูลจากนั้นเขียนเลขหมู่ในตัวเล่ม
8. ส่งกลับไปที่ผู้ปฏิบัติงานบริหารเพื่อนำไปให้ฝ่ายบริการ
ฝึกประสบการณ์วันที่ 22 มีนาคม 2560
เวลา 09.00 น.- 12.00 น
เข้าพบ อาจารย์ เพ็ญสุภา แก้วพิทยาภรณ์ งานการแปลงข้อมูลวิทยานิพนธ์ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้อธิบายความเป็นมาตั้งแต่เริ่มแปลงไฟล์ในสมัยปี พ.ศ 2545 ซึ่งได้มีแนวคิดการจัดเก็บไฟล์ทรัพยากรในห้องสมุดที่เป็นวิทยานิพนธ์ สมัยก่อนมีแค่ตัวเล่มไม่มีการทำให้รูปแบบไฟล์ จึงมีการเริ่มนำเอาเอกสารมาสแกนเพื่อนำมาทำเป็นไฟล์และพัฒนาต่อมาเรื่อยๆจนมีขั้นตอนการปฏิบัติงานในปัจจุบัน ปัจจุบันจะให้ผู้เป็นเจ้าของวิทยานิพนธ์ส่งตัวเล่มพร้อมแผ่นเพื่อความรวดเร็วในการเก็บข้อมูล ตามขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนปฏิบัติงานตัวเล่มวิทยานิพนธ์
- ผู้ปฏิบัติงานบริหารจะตรวจรับตัวเล่มและเช็คความสมบรูณ์
- ตรวจสอบไฟล์ให้เรียบร้อย
ขั้นตอนเก็บไฟล์ข้อมูล CD
- เก็บคัดลอกไฟล์ข้อมูล pdf จากแผ่นซีดีวิทยานิพนธ์ลงคอมพิวเตอร์ตั้งชื่อนามสกุลตามหลักของสำนักหอสมุด
- ปลดล็อครหัสความปลอดภัยให้กับไฟล์
- กำหนดข้อมูลลง Metadata
- สร้าง bookmark กับหน้าต่างๆ แล้ว save
- รหัสความปลอดภัยให้กับไฟล์
- จัดเก็บไฟล์ pdf ที่ดำเนินการเรียบร้อยไว้ที่ server
- เพิ่มข้อมูลใน tag 856 เพื่อเชื่ลิ้งไปยังหน้าเว็บ
- ลง tag 999 เพิ่มผู้รับผิดชอบ
เวลา 13.00 น.- 16.00 น
เข้าพบ อาจารย์ ชุติมาส บุญหนุน งานจัดเตรียมทรัพยากรสารสนเทศ ได้อธิบายขั้นตอนการจัดเตรียมตัวเล่มทรัพยากรก่อนออกให้บริการ
หน้าที่ของงานจัดเตรียมทรัพยากร
- ดูแลงาน ประทับตรา ติดสัน และงานซ่อมหนังสือ
- งบประมาณประจำปี เพื่อใช้ซื้อค่าวัสดุงานจัดเตรียมทรัพยากรสารสนเทศ
- ทำบันทึกข้อความขอเบิกจ่ายซื้อค่าวัสดุจัดเตรียมทรัพยากรสารสนเทศ
- เช็คสถิติปฏิบัติงานจัดเตรียมทรัพยากรสารสนเทศ (รายเดือน)
- จัดทำตารางเวรรับ-ส่งเอกสารของฝ่าย และตารางเวรรับหนังสือบริจาค
งานหลักของการจัดเตรียมตัวเล่มหนังสือ
- รับตัวเล่มจากบรรณารักษ์มาจากที่วางบนชั้นเพื่อ “รอประทับตรา”
- ซ่อมเอกสาร หนังสือต่างๆ จำนวน 3 ตำแหน่ง คือ บริเวณขอบสันหนังสือด้านบน ล่าง และด้านขวา
§ กรณีเป็นสิ่งพิมพ์ มก. ประทับตรา บริเวณมุมบนด้านขวาของหน้าแรก และติดสติ๊กเกอร์ “KU” บริเวณมุมบนด้านขวาของหน้าปกหนังสือ
§ ประทับตราหน้า 15 คำว่า “สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์” ที่กลางหน้ากระดาษด้านบนกรณีที่ไม่มีเลขปรากฏก็นับให้ครบ 15 หน้า แต่หากพบว่าหน้าที่ 15 นั้นมีรูปภาพและมีสีมืด อาจอนุโลมให้ประทับตราในหน้าถัดไปหรือก่อนหน้านี้ได้
- ติดบาร์โค้ดด้านหลังหนังสือ
- พนักงานซ่อมเอกสาร พิจารณาเจาะเย็บ/ทากาวตัวเล่มหนังสือใหม่ เพื่อเพิ่มคงทนและยืดอายุการใช้งาน
งานหลักของการจัดเตรียมตัวเล่มวานสาร
วารสารจะไม่ประทับตราพระพิรุนและไม่มีบาร์โค้ดเหมือนหนังสือจะจัดทำขึ้นเอง
- ประทับตรา คำว่า “สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์” ด้านบนของหน้าปกใน และถัดลงมาเป็นการประทับตราวันที่
- ประทับตรา คำว่า “สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์” จำนวน 3 ตำแหน่ง คือ บริเวณขอบสันหนังสือด้านบน ล่าง และด้านขวา
- ประทับตราหน้า 15 คำว่า “สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์” ที่กลางหน้ากระดาษด้านบน หรือถ้าไม่มีเลขปรากฏก็นับให้ครบ 15 หน้า แต่หากพบว่าหน้าที่ 15 นั้นมีรูปภาพและมีสีมืด อาจอนุโลมให้ประทับตราในหน้าถัดไปหรือก่อนหน้านี้ได้
- กรณีที่มีบาร์โค้ด ให้ติดบาร์โค้ดในบริเวณชิดขอบกึ่งกลางปกหลังด้านนอกของวารสารแล้วปิดทับด้วยเทปใส
- พนักงานซ่อมเอกสาร นำวารสารที่ผ่านการประทับตราแล้ว ส่งคืนให้กับบรรณารักษ์งานวารสาร
แนวทางการปฏิบัติงานซ่อมหนังสือ
- เจ้าหน้าที่บริการจะเป็นผู้สำรวจหนังสือและนำส่งให้ฝ่ายซ่อมหนังสือ
- กำหนดการส่งหนังสือเพื่อซ่อมบำรุงทุก 2 สัปดาห์ / ครั้ง / เดือน
- การซ่อมทำสันและทำปกใหม่ หากซ่อมเรียบร้อยแล้วเขียนปกใหม่ ด้วยปากกาไฟฟ้า
ฝึกประสบการณ์วันที่ 23 มีนาคม 2560
เวลา 09.00 น.- 16.00 น
เข้าพบ อาจารย์ รัสรินทร์ นิศาธรรมพัฒน์ ได้อธิบายเนื้อหาในส่วนของงานการจัดหาทรัพยากรสื่อโสตทัศนฯ และขั้นตอนการลงรายการสื่อโสตทัศน์ฯ
การจัดหาทรัพยากรสื่อโสตทัศนฯ
การจัดหาทรัพยากรสื่อโสตทัศนฯ วิธีการจัดหาสื่อ มีดังต่อไปนี้
1. การจัดซื้อแบบสำรวจตลาด ที่ได้นับความนิยมในตลาดสื่อ สื่อโสตทัศนฯเน้นการคัดเลือกเนื้อหาทางสื่อวิชาการ สื่อสารคดี สื่อบันเทิง ไม่มีเนื้อหารุ่นแรง ไม่มีภาพโป๊เปื่อย ปัจจุบัน สำนักหอสมุด มก. จัดทำสื่ออย่าง 1 coppy ให้บริกการ
2. สำนักพิมพ์เสนอแนะ หากสื่อน่าสนใจจะทพการจัดซื้อตามขั้นตอน ทำการจัดซื้อไม่เกิน 45 วัน
3. การบริจาค มีการส่งมาจากหน่วยงานต่างๆที่ได้รับมาฟรี
4. จัดซื้อจาก web amazon
ขั้นตอนการลงรายการสื่อโสตทัศนฯ
- นำมาเช็คซ้ำ ตรวจสอบสื่อ
- สร้างระเบียนต่างๆ
- ทำการลงรายการ Tag
- หากเสร็จแล้วนำส่งให้งานจัดเตรียม เตรียมสื่อ
- ทำใบรายชื่อส่งให้ฝ่ายบริการ
วิธีการลงรายการสื่อโสตทัศนฯ
Tag ที่สำคัญในการลงรายการ มีดังนี้
Tag 040 ระบุแหล่งที่จัดทำข้อมูลการทำรายการ
Tag 099 ระบุเลขโสตทัศน์ฯที่กำหนดขึ้นเอง
Tag 100 ชื่อบุคคล
Tag 245 ชื่อเรื่องที่รับผิดชอบ
Tag 246 ชื่อเรื่องที่แตกต่าง
Tag 260 ลงปีพิมพ์
Tag 300 ลักษณะรูปร่าง
Tag 490 ชื่อชุด
Tag 500 ระบุหมายเหตุทั่วไป
Tag 505 ระบุหมายเหตุสารบัญ
Tag 520 ระบุหมายเหตุเกี่ยวกับสรุปย่อ
Tag 538 รายละเอียดของระบบ
Tag 546 หมายเหตุที่เกี่ยวกบภาษา
Tag 999 ผู้จัดทำระเบียนบรรณานุกรม
ส่วนที่แตกต่างจากการลงรายการทั่วไป
GMD (General Material Designation) เป็นส่วนที่ระบุประเภทของวัสดุทางสำนักหอสมุด มก. กำหนดไว้ 3 ประเภท
- Eiectronic resource ใช้กับ แฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์
- Videorcording ใช้กับ วีดิทัศน์
- Sound recording ใช้กับ วัสดุบันทึกเสียง
GMD เขตข้อมูล 245 ใส่ในเครื่องหมายวงเล็บเหลี่ยม [ ] หลังชื่อเรื่องเสมอเป็นภาษาอังกฤษ
ฝึกประสบการณ์วันที่ 24 มีนาคม 2560
วันที่ 24 มีนาคม 2560 ฝึกงานฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศ ฟังการบรรยายภาพรวมของฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศ และการจัดการทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุดเพื่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม (Eco-Library) โดย อาจารย์พรนภา ตั้งนิติพงศ์ หัวหน้าฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุด
ภาพรวมของฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศ
จัดหาทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภท เช่น หนังสือ วารสาร ฐานข้อมูล และสื่อโสตทัศนวัสดุที่สอดคล้องกับการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยโดยเฉพาะวิทยาเขตบางเขน
วิเคราะห์และลงรายการทรัพยากรสารสนเทศที่ได้รับจากการจัดซื้อหรือได้รับบริจาค สิ่งพิมพ์ มก. จากคณะ สาขาวิชาที่ผลิตขึ้นเอง ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ วิทยานิพนธ์ พร้อมทั้งช่วยวิเคราะห์และลงรายการทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดคณะที่ร้องขอมา เช่น ห้องสมุดคณะมนุษย์ ที่มีทรัพยากรเฉพาะด้าน เช่น หนังสือขงจื้อ หนังสือพุทธศาสนา เป็นต้น พร้อมทั้งส่งข้อมูล E-Thesis (Full-text) ให้กับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สหบรรณานุกรมห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาไทย (UCTAL) เพื่อใช้ใน Single Search
จัดเตรียมทรัพยากร ดูแลรักษาทรัพยากรก่อนและหลังให้ออกบริการ งานซ่อมบำรุงก่อนให้บริการ ประทับตรา เสริมปก ติดบาร์โค้ด RFID พิมพ์และติดสันหนังสือ หุ้มปก ติดแถบสี เปลี่ยนสถานภาพทรัพยากร พร้อมทั้ง QC File
การจัดการทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุดเพื่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม (Eco-Library)
แนวความคิดในการออกแบบและพัฒนา Eco-Library ให้เป็นแหล่งบริการความรู้นี้ มุ่งเน้นการใช้ครุภัณฑ์เก่าและวัสดุเหลือใช้ต่างๆโดยนำองค์ความรู้จากศูนย์ปฏิบัติการออกแบบจากวัสดุเหลือใช้มาใช้ในการคัดเลือกวัสดุ ศึกษาและออกแบบพื้นที่การใช้งานของ Eco-Library
พื้นที่ของ Eco-Library ถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก คือ
1. Common Reading Space หรือ Eco-Library
2. Kid Reading space เพื่อการใช้งานที่หลากหลายสำหรับเด็ก
3. Alumni Space สำหรับให้บริการศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดเพื่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม (Eco-Library) ประเภทเนื้อหาทรัพยากรใช้ระบบฐานข้อมูล KOHA
กึ่งวิชาการ นวนิยาย เรื่องสั้น เรื่องแปล นิทานสำหรับเด็ก เป็นต้น การให้เลขหมู่ใช้วิธี Running Number
1. หนังสือเด็ก เยาวชน แบ่งหมวดหมู่โดยการติดแถบสี สีหลัก คือ สีชมพู ใช้สัญลักษณ์อักษรภาษาไทยแยกประเภท
- ยว-ว = หนังสือภาพ
- ยว-ท = หนังสือทั่วไป เช่น หนังสือการ์ตูนด้านวิทยาศาสตร์
- ยว-อ = หนังสืออ้างอิงสำหรับเด็ก ไม่สามารถยืมออกได้
2. หนังสือที่ได้รับรางวัล ติดแถบสีม่วง เช่น หนังสือซีไรต์ หนังสือของสพฐ. และหนังสือโนเบล
หมายเหตุ ฉ.1 ไม่สามารถยืมออกได้
3. ศิษย์เก่า มก. (Alumni Space) หนังสือศึกษาต่อต่างประเทศ หนังสือหางานทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ แถบสีเหลือง
4. นวนิยาย เรื่องสั้น เรื่องแปล
5. กึ่งวิชาการ เช่น หมวด TT TX ด้านคหกรรม เช่น งานเย็บปักถักรอย, AC ด้านเบ็ดเตล็ด, TZ นวนิยายต่างประเทศ
6. หนังสือสุขภาพ ได้รับจาก สสส. แถบสีเหลือง
7. หนังสือสัจจะ คัดจากหนังสือที่ได้รับหลายฉบับ
8. บัณฑิตน่าอ่าน โดยบัณฑิตเป็นผู้เสนอหนังสือที่อยากอ่าน
9. อาเซียน เน้นหนังสืออ่านง่าย สอนภาษา
10. หนังสือรับบริจาค คือ หนังสือทั่วไปทั้งวิชาการและไม่วิชาการ หนังสือที่ให้คุณค่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น