วันอังคารที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2560

รายงานฝึกประสบการณ์ สัปดาห์ที่ 9 วันที่ 24 มีนาคม 2560

ฝึกประสบการณ์วันที่ 24 มีนาคม 2560

          วันที่ 24 มีนาคม 2560 ฝึกงานฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศ ฟังการบรรยายภาพรวมของฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศ และการจัดการทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุดเพื่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม (Eco-Library) โดย อาจารย์พรนภา ตั้งนิติพงศ์ หัวหน้าฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุด

ภาพรวมของฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศ

          จัดหาทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภท เช่น หนังสือ วารสาร ฐานข้อมูล และสื่อโสตทัศนวัสดุที่สอดคล้องกับการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยโดยเฉพาะวิทยาเขตบางเขน
          วิเคราะห์และลงรายการทรัพยากรสารสนเทศที่ได้รับจากการจัดซื้อหรือได้รับบริจาค สิ่งพิมพ์ มก. จากคณะ สาขาวิชาที่ผลิตขึ้นเอง ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ วิทยานิพนธ์ พร้อมทั้งช่วยวิเคราะห์และลงรายการทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดคณะที่ร้องขอมา เช่น ห้องสมุดคณะมนุษย์ ที่มีทรัพยากรเฉพาะด้าน เช่น หนังสือขงจื้อ หนังสือพุทธศาสนา เป็นต้น พร้อมทั้งส่งข้อมูล E-Thesis (Full-text) ให้กับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สหบรรณานุกรมห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาไทย (UCTAL) เพื่อใช้ใน Single Search
          จัดเตรียมทรัพยากร ดูแลรักษาทรัพยากรก่อนและหลังให้ออกบริการ งานซ่อมบำรุงก่อนให้บริการ ประทับตรา เสริมปก ติดบาร์โค้ด RFID พิมพ์และติดสันหนังสือ หุ้มปก ติดแถบสี เปลี่ยนสถานภาพทรัพยากร พร้อมทั้ง QC File

การจัดการทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุดเพื่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม (Eco-Library)

          แนวความคิดในการออกแบบและพัฒนา Eco-Library ให้เป็นแหล่งบริการความรู้นี้ มุ่งเน้นการใช้ครุภัณฑ์เก่าและวัสดุเหลือใช้ต่างๆโดยนำองค์ความรู้จากศูนย์ปฏิบัติการออกแบบจากวัสดุเหลือใช้มาใช้ในการคัดเลือกวัสดุ ศึกษาและออกแบบพื้นที่การใช้งานของ Eco-Library
          พื้นที่ของ Eco-Library ถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก คือ
             1. Common Reading Space หรือ Eco-Library
             2. Kid Reading space เพื่อการใช้งานที่หลากหลายสำหรับเด็ก
             3. Alumni Space สำหรับให้บริการศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


          ทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดเพื่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม (Eco-Library) ประเภทเนื้อหาทรัพยากรใช้ระบบฐานข้อมูล KOHA
กึ่งวิชาการ นวนิยาย เรื่องสั้น เรื่องแปล นิทานสำหรับเด็ก เป็นต้น การให้เลขหมู่ใช้วิธี Running Number
          1. หนังสือเด็ก เยาวชน แบ่งหมวดหมู่โดยการติดแถบสี สีหลัก คือ สีชมพู ใช้สัญลักษณ์อักษรภาษาไทยแยกประเภท
             - ยว-ว = หนังสือภาพ
             - ยว-ท = หนังสือทั่วไป เช่น หนังสือการ์ตูนด้านวิทยาศาสตร์
             - ยว-อ = หนังสืออ้างอิงสำหรับเด็ก ไม่สามารถยืมออกได้
          2. หนังสือที่ได้รับรางวัล ติดแถบสีม่วง เช่น หนังสือซีไรต์ หนังสือของสพฐ. และหนังสือโนเบล
หมายเหตุ ฉ.1 ไม่สามารถยืมออกได้
          3. ศิษย์เก่า มก. (Alumni Space) หนังสือศึกษาต่อต่างประเทศ หนังสือหางานทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ แถบสีเหลือง
          4. นวนิยาย เรื่องสั้น เรื่องแปล
          5. กึ่งวิชาการ เช่น หมวด TT TX ด้านคหกรรม เช่น งานเย็บปักถักรอย, AC ด้านเบ็ดเตล็ด, TZ นวนิยายต่างประเทศ
          6. หนังสือสุขภาพ ได้รับจาก สสส. แถบสีเหลือง     
          7. หนังสือสัจจะ คัดจากหนังสือที่ได้รับหลายฉบับ
          8. บัณฑิตน่าอ่าน โดยบัณฑิตเป็นผู้เสนอหนังสือที่อยากอ่าน
          9. อาเซียน เน้นหนังสืออ่านง่าย สอนภาษา
          10. หนังสือรับบริจาค คือ หนังสือทั่วไปทั้งวิชาการและไม่วิชาการ หนังสือที่ให้คุณค่า



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น