วันอังคารที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2560

สรุปรายงานฝึกประสบการณ์ สัปดาห์ที่ 8

สรุปรายงาน


สถานที่ฝึกงาน ณ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต บางเขน




นักศึกษาฝึกงาน จำนวน 3 คน ได้แก่      นางสาวชนากานต์ ขันธรรม (เจ้าของ Bloger)

                                    นางสาวสุพัชรี แก้วเหล็กไหล

                      นายศรนารายณ์ บุญขวัญ


ฝึกประสบการณ์วันที่  13 มีนาคม 2560

เวลา 09.00 น.- 16.00 
เข้าพบอาจารย์ นาถศจี พันธุ์ใย ฝ่ายงานด้านการจัดซื้อหนังสือภาษาไทย ได้อธิบายส่วนลักษณะของการจัดซื้อได้ว่า มี 2 ลักษณะ กล่าวโดยละเอียดดังต่อไปนี้
ลักษณะงาน
          การจัดหามี 2 วิธี
1.การจัดซื้อ
2.ขอรับบริจาค

ข้อกำหนดการจัดซื้อหนังสือภาษาไทย
1. ต้องทราบนโยบายของหน่วยงานในการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ จัดซื้อหนังสือทุกสาขาวิชาที่เปิดสอน
-  คัดเลือกและวิเคราะห์เนื้อหา กายภาพของหนังสือ
-  จัดทำ collection พิเศษ เช่น สิ่งพิมพ์ของ มก.
-  หนังสือที่ได้รับรางวัล ในส่วนของห้อง eco-library
รวมสิ่งพิมพ์ด้านการเกษตร
2. งบประมาณ เริ่ม เดือนตุลาคม 2559 – เดือนกันยายน 2560 มีระยะเวลาในการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ 3 ไตรมาส
-          หนังสือวิชาการ 70 %
-          หนังสือทั่วไป   30 %
วิธีการจัดซื้อ
1. ซื้อตามที่ผู้ใช้ต้องการ
2. ซื่อหนังสือที่มีความทันสมัย
ซื้อตามที่ผู้ใช้ต้องการ คือการให้ผู้ใช้ได้มีการเสนอแนะทรัพยากรสารสนเทศ
ช่องทางการเสนอแนะแบ่งออกได้ดังนี้

-          เสนอแนะทรัพยากรสารสนเทศผ่านแบบฟอร์ม


-          เสนอแนะทรัพยากรสารสนเทศผ่านหน้าเว็บไซต์สำนักหอสมุด มีข้อกำจัดคือให้เฉาพะบุคลากร เท่านั้น
ต่อมานั้นเมื่อได้ข้อมูลรายการจากผู้ใช้เสนอแนะแล้วบรรณารักษ์ต้องทำการตรวจสอบหรือเช็คซ้ำในฐานข้อมูล ถ้าไม่มีอยู่ในระบบถึงจะทำการจัดซื้อ โดยหนังสือวิชาการจะจัดซื้อ 2-5 Copy หนังสือทั่วไปจะจัดซื้อแค่ 1 Copy  ดูจาดสถิติการใช้บริการ แล้วส่งรายการที่จะทำการจัดซื้อไปทางร้านให้ทำรายการคัดเลือก ทำการคัดเลือกวิเคราะห์เนื้อหาของทรัพยากร เพื่อดูความเหมาะสมของเนื้อหา

การจัดซื้อหนังสือที่ร้านค้านำเสนอ
-    ทางสำนักจะมีข้อตกลงให้ทางร้านค้านำเสนอหนังสือที่เป็นวิชาการ
-    ให้ทางร้านค้าออกเอกสารใบเสนอราคาพร้อมตัวเล่มแนบใบลำดับที่ตามเอกสาร
-    เสนอได้ไม่เกินวันที่ 15 ของทุกเดือน ยกเว้น เดือนมีนาคม และ กรกฎาคม จะไม่มีการนำเสนอ
-    ทำใบเสนอราคาส่งให้ผู้อำนวยการของสำนักหอสมุด มก. และส่งทางร้าน
 -   ทางร้านทำใบส่งขอมาให้

สำรวจตลาด
-          การคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศโดยให้นิสิตร่วมในการคัดเลือกทรัพยากรภายใต้โครงการ “You pick me buy”
-          สัปดาห์หนังสือและมหกรรมหนังสือ
การลงรายการบรรณานุกรม
การลงรายการบรรณานุกรม tag เพื่อตรวจสอบ 4-5 tag เช่น
ส่วน bib
-          ชื่อเรื่อง
-          ผู้แต่ง
-          เลข ISBN
-          Imprint                         สำนักพิมพ์
-          Edition                         ปีพิมพ์
-          Descript                       รายละเอียดเนื้อหา
-          993                                      รายละเอียดของภาควิชา
ส่วน order
-          ACQ Type                     ระบุว่าได้รับมาแบบใด เช่น จัดซื้อใส่ บริจาคใส่ Q
-          Location                       ที่อยู่ของหนังสือ หากเป็น เกษตร บางเขนใส่ bml
-          CDATE                         ลงวันที่ส่งไปฝ่าย แคทตาล็อค
-          COPIES                         จำนวนเล่มที่ copy
-          INPUTTER                     โค้ดรหัสคนคี่ข้อมูล
-          CODE4                         รหัสคณะต่างๆใน มก.
-          E PRICE                        ราคาหนังสือ
-          FORM                          ประเภทของหนังสือ
-          FUND                           เงินงบประมาณ
-          ODATE                         วันที่ซื้อหนังสือ
-          ORD TYPE                     บอกสถานะหนังสือเล่มใหม่
-          RDATE                          วันรับหนังสือ
-          VENDOR                       ใส่โค้ดของร้านที่ขายหนังสือ 2 ku
-          LANG                           ภาษาในเล่มหนังสือ
-          VOLUMES                     จำนวนเล่มของชุด




ทดลองการลงรายการ


ฝึกประสบการณ์วันที่  14 มีนาคม 2560

เวลา 09.00 น.- 16.00 
เข้าพบอาจารย์ วันเพ็ญ ปรีตะนนท์ ส่วนของงานการจัดซื้อฐานข้อมูลและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้อธิบายรายละเอียดของงานจัดซื้อโดยละเอียดดังต่อไปนี้

การจัดซื้อฐานข้อมูลและสื่ออิเล็กทรอนิกส์
การจัดซื้อฐานข้อมูลและสื่ออิเล็กทรอนิกส์จัดซื้อในรูปแบบ
-          ฐานข้อมูลฉบับเต็ม
-          ฐานข้อมูลบรรณานุกรม
นโยบายในการจัดซื้อฐานข้อมูล มีการจัดสรรงบประมาณ แบ่งได้ ส่วน
-          ฐานข้อมูล 40 %
-          วารสาร 10 %
-          หนังสือ 15 %
-          สื่อโสต 1 %
นโยบายในการจัดซื้อฐานข้อมูล มี 2 รูปแบบ
-          จัดซื้อสิ่งพิมพ์
-          จัดซื้อสื่ออิเล้กทรอนิกส์
งบประมานในการหาฐานข้อมูลได้จาก
-          งบประมาณแผ่นดิน 20 %
-          งบประมาณของเงินรายได้สำนักหอสมุด 80 %
คุณสมบัติของบุคลากรในการจัดซื้อฐานข้อมูล
-          มีความรู้ด้านภาษาอักฤษเพื่อติดต่อประสานงานได้
-          มีความรู้ทางด้านอินเทอร์เน็ต
-          มีความรู้ในการจัดหาสารสนเทศ
-          มีข้อมูลทางด้านแหล่งผลิตสินค้าและคุณสมบัติของสินค้า
-          ต้องเป็นผู้เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา
ปัจจุบันการจัดหา แบ่งออกได้ 2 ลักษณะ
-          ทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ที่ผลิตขึ้นเอง
-          จัดหาหรือจัดซื้อและจากการบริจาค จัดหาโดยหน่วยงานของเราเอง หรือแบบภาคีสมาชิกเป็นการร่วมมือของสมาชิกในการจัดหาทรัพยากร มี 2 แห่ง ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค (Provincial University Library Network = PULINET และ โครงการเครือข่ายห้องสมุดแห่งประเทศไทย Thalis
ขบวนการจัดหาฐานข้อมูล
-          คัดเลือกทรัพยากร สามารถบ่างย่อยได้ดังต่อไปนี้
-เสนอชื่อในการคัดเลือกและจะให้สิทธิ อาจารย์ นักวิจัย นิสิต ก่อน สามารถกรอกแบบ
ฟรอม์เสนอแนะ หรือเสนอผ่านหน้าเว็บไซต์
-          ผู้คัดเลือกคือผู้อำนวยการสำนักหอสมุกเป็นผู้พิจารณาทรัพยาการอิเล็กทรอนิกส์ คณะกรรมการพัฒนาทรัพยากร อาจารย์คณะหรือสาขาวิชาต่างๆ
หลักเกณฑ์การจัดหา
-          เนื้อหาต้องมีความสอดคล้องตรงกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และต้องกับความต้องการ
-          ราคาไม่สูงเกินไป
-          รูปแบบของการใช้งานสอดคล้องกับระบบที่มีอยู่ในห้องสมุด
-          เนื้อหาต้องมีความถูกต้องชัดเจน
-          เป็นเนื้อหาสหสาขาวิชาควบคุมทุกสาขาวิชา
วิธีการบอกรับสั้งซื้อมี 2 วิธี
1.       บอกรับสั่งซื้อกับตัวแทนจำหน่าย 90 %
2.       บอกรับกับบริษัทผู้ผลิตโดยตรง
งานหลักของการบอกรับสั่งซื้อ 2 วิธี
1.       ต่ออายุฐานข้อมูล
2.       การจัดหาฐานข้อมูล
ต่ออายุฐานข้อมูลพิจารณาโดย
1.       รวบรวมสถิติการใช้ฐานข้อมูลในงบประมาณที่ผ่านมา
2.       ตรวจสอบสถิติการใช้เพื่อพิจารณาฐานข้อมูลในปัจจุบันว่าเราจะใช้อยู่หรือไม่
3.       คำนวนเงินงบประมาณแต่ละปี
4.       พิจารณางบประมาณการจัดสรรที่ได้รับเพียงพอต่อการต้ออายุฐานข้อมูลใดบ้าง
5.       รวบรวมรายชื่อฐานข้อมูลแล้วแจ้งสำนักพิมพ์เพื่อแจ้งในเสนอราคาเพื่อเปรียบเทียบข้อมูลปีที่แล้วมีความแตกต่างกันไหม
6.       แจ้งราคาที่เราพึงพอใจ แล้วแจ้งสำนักพิมพ์เพื่อขอใบแจ้งหนี้
7.       เบิกจ่ายโดยส่งเอกสารเพื่ออนุมัติเบิกจ่าย
8.       ชำระเงินฐานข้อมูล
9.       แจ้งฝ่ายบริการเพื่อประชาสัมพันธ์
10.   ตรวจสอบหลังการใช้ฐานข้อมูล หากมีปัญหาต้องแจ้งสำนักพิมพ์

จัดหาหาฐานข้อมูลใหม่ดดยพิจารณาจาก
1.       เนื้อหาต้องสอดคล้องกับการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2.       คุณภาพทรัพยากรในฐานข้อมูล
3.       พิจารณาข้อมูลการบอกรับที่มีการเรียนการสอนใกล้เคียงกับ มก.
4.       ต้องพิจารณาเงื่อนไขของฐานข้อมูล
5.       ดูสถิติการทดลองใช้ฐานข้อมูล


จัดซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
แนวทางการดำเนินการจัดซื้อ
-          ดำเนินการจัดซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นอันดับแรกในกรณีหนังสือที่ได้รับคัดเลือกทั้งแบบ สิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์
-          มีส่วนร่วมการพิจารณาคัดเลือกจากอาจารย์คณะต่างๆ
รูปแบบการจัดซื้อ ปี 2558-2559
-          จัดซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบซื้อขาดจากสำนักพิมพ์ตามสาขาวิชา จัดซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์โดยการชำระเงินค่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อเข้าใช้งานเป็นระยะเวลา 1 ปี เมื่อครบกำหนดระยะเวลาจึงพิจารณาคัดเลือกหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จากรายชื่อที่สามารถเข้าใช้งานภานในวงเงินที่ได้ชำระไป
-          จัดซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบรายเล่มรวบรวบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ส่งให้อาจารย์แต่ละคณะคัดเลือก
-          จัดซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบบอกรับรายปี
ขั้นตอนการทำโปรแกรม e-book section และ e-book proplus
1.       จัดสรรงบประมาณหนังสืออิเล็กทรอนิกส์โดยพิจารณาจัดสรรงบประมาณให้กับคณะต่างๆตามเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณของคณะ
2.       ติดต่อประสานงานฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อจัดทำโปรมแกรม e-book section และ e-book proplus
3.       รวมรายชื่อหนังสื้ออิเล็กทรอนิกส์ที่ได้จากร้านค้าหรือสำนักพิมพ์เพื่อส่งให้ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศนำข้อมูลเข้าโปรแกรม
4.       จัดส่งบันทึกข้อความแจ้งอาจารย์แต่ละคณะเรื่องการคัดเลือกหนังสืออิเล็กทรอนิกส์พร้อมงบประมาณแต่ละคณะที่จัดสรรโดยสามารถคัดเลือกหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้ตั้งแต่วันที่ ธันวาคม 2558 – 31 มกราคม 2559
5.       คณะต่างๆยืนยันการคัดเลือกหนังสืออิเล้กทรอนิกส์โดยผู้แทนแต่ละคณะที่ได้รับมอบหมายผ่านระบบในระหว่างวันที่ 1 – 25 กุมภาพันธ์ 2559
6.       สำนักหอสมุด มกทำการปิดคัดเลือกหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2559
7.       รวบรวมและตรวจสอบความซ้ำซ้อนรายชื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อทำการสั่งซื้อ
8.       ดำเนินการจัดซื้อภายในเดือน มีนาคม และรายงายผลการจัดซื้อ เดือน เมาษายน

 



ฝึกประสบการณ์วันที่  15 มีนาคม 2560

เวลา 09.00 น.- 12.00 
เข้าพบอาจารย์ วนิดา ศรีทองคำ งานจัดการสิ่งพิมพ์ได้เปล่า ได้อธิบายลักษณะงานและสอนการเลือกสิ่งพิมพ์เพื่อนำเข้าห้องสมุด รายละเอียดดังต่อไปนี้

สิ่งพิมพ์ได้เปล่า คือ สิ่งพิมพ์ที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย หน่วยงานจัดพิมพ์ขึ้นแล้วนำมาให้ หรือ จากมหาวิทยาลัยต่างๆ

ลักษณะงาน
คัดเลือกสิ่งพิมพ์แล้วพิจารณาว่าเนื้อหาว่าควรนำเข้าสำนักหอสมุดหรือไม่ หากเช็คแล้วซ้ำพิจารณาจากการใช้สถิติการใช้บริการ

ขั้นตอนการเลือกสิ่งพิมพ์ได้เปล่า
  • -          พิจารณาจากเนื้อหาในตัวเล่มหนังสือ หลักๆแล้วหากเป็นเกี่ยวกับเกษตรจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
  • -          ข้อมูลได้ความเชื่อถือหรือไม่ เช่น พิจารณาจากผู้แต่ง เป็นต้น
  • -          เช็ค พ.และพิจารณาว่าเก่าเกินไปไหม
  • -          เลือกให้เหมาะกับปริญญาตรี


การป้อนข้อมูลเบื้องต้น
การให้เลข tag ให้คราว 5 tag หลักๆ เช่น
-          เลข ISBN
-          ชื่อผู้แต่ง
-          ชื่อเรื่อง
-          สำนักพิมพ์
-          ราคา (หากหนังสือไม่มีราคา ราคาจะตั้งจากจำนวนหน้าในเล่มหนังสือเพื่อเป็นการตรวจเช็คได้ง่ายหากหนังสือหาย)










เวลา 13.00 น.- 16.00 

เข้าพบอาจารย์ กนก สุขมณี งานดรรชนีวารสาร ได้อธิบายรายละเอียดงานดรรชนีวารสาร การลงรายการ AACR 2 และลักษณะของงาน ได้อธิบายดังนี้

 การคัดเลือกวารสาร
-          ต้องเป็นวารสารหรือบทความทางวิชาการและตรงต่อหลักสูตรการเรียนการสอนของ มก.
-          เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความ บทวิจารณ์ บทความวิจัย
-          เป็นวารสารที่มีการจัดพิมพ์อย่างต่อเนื่อง ออกต่อตามเวลาไม่ขาดตอน
การคัดเลือกบทความดรรชนีวารสาร
-          เป็นวารสารวิชาการ บทความวิจัย บทความวิชาการต้องมีอ้างอิงลงท้าย
-          เป็นบทความที่ทันสมัยและให้ความรู้
-          ไม่เป็นบทความแปล หรือรายงานการประชุมต่างๆ
ขั้นตอนการจัดทำดรรชนีวารสาร
-          ตรวจสอบหรือสำรวจวารสารที่จะทำดรรชนี
-          คัดเลือกบทความ
-          วิเคราะห์เนื้อหาในวารสาร
-          ลงรายการบรรณานุกรมดรรชนีวารสาร
-          กำหนดหัวเรื่องหรือคำสำคัญ
-          ทำการโยง
-          ลงรายการแล้วบันทึกราย
-          ตรวจสอบความถูกต้อง











ตัวอย่างข้อมูลที่ใช้ลงรายการดรรชนีวารสาร


 งานที่ได้รับมอบหมาย เลือกบทความ 2 บทความจากนั้นลงข้อมูลบรรณานุกรมศึกษาตามตัวอย่าง และกำหนดหัวเรื่องด้วย เว็บหัวเรื่องภาษาไทยออนไลน์ http://thaiccweb.car.chula.ac.th/thaiccweb/main.php




ฝึกประสบการณ์วันที่  16 มีนาคม 2560

เวลา 09.00 น.- 12.00 
เข้าพบอาจารย์ กนก สุขมณี งานการจัดหาวารสารภาษาไทยและหนังสือพิมพ์ได้อธิบายรายละเอียดดังต่อไปนี้

การจัดหาวารสารภาษาไทยและหนังสือพิมพ์
การจัดหาวารสารและหนังสือพิมพ์บอกรับ 2 แบบ จากตัวแทนจำหน่าย เช่น ข่าวสด ไทยรัฐ  หรือ บริษัทโดยตรง สยามรัฐ บางกอกโพสต์ คมชัดลึก เป็นต้น

รูปแบบการจัดหาหนังสือพิมพ์
รายชื่อที่บอกรับหนังสือพิมพ์ที่นำเข้าหอสมุด มก.
-          ข่าวสด
-          ไทยรัฐ
-          เดลินิวส์
-          ไทยโพสต์
-          มติชน เป็นต้น
การวางแผนบอกรับหนังสือพิมพ์ในแต่ละเดือน
-          บอกรับกับตัวแทนจำหน่ายหรือบริษัทโดยตรง
-          รวบรวมรายชื่อหนังสือพิมพ์ที่ต้องการบอกรัก
-          ทำการบันทึกข้อความขอใบแจ้งหนีทางบริษัท
-          นำส่งฝ่ายพัสดุดำเนินการต่อ
รูปแบบการจัดหาวารสาร
วารสาร 1 ปีจะต้องมีการสำรวจว่าบอกรับวารสารอะไร จำนวนเท่าไร เช็คราคาของวารสารตามลำดับขั้นตอนและจะต้องมีการเช็คต่ออายุวารสาร
การวางแผน
-          ตรวจสอบรวบรวบรายชื่อวารสาร
-          ทำเรื่องขออนุมัติเบิกเงินวารสารและหนังสือพิมพ์ที่บอกรับ
-          ทำสัญญาการยืมเงินเพื่อต่ออายุวารสาร
-          รับเช็คเงินแล้วนำไปขึ้นเงินสด
-          แนบใบสมัครของแต่ละบริษัทท้ายเล่ม
-          ทำเรื่องโอนเงิน
-          แล้วนำใบเสร็จมาเรียงตามเดือน
-          รอให้บริษัทมารับใบเสร็จ

เวลา 13.00 น.- 16.00 
เข้าพบ อาจารย์ วราภรณ์ แดงช่วง งานการจัดหารวารสารภาษาต่างประเทศ ได้อธิบายรายละเอียดดังต่อไปนี้

การจัดหาวารสารภาษาต่างประเทศ
วารสาร  เป็นสิ่งพิมพ์ที่มีกำหนดออกแน่นอน นำเสนอความรู้ ข่าวสารที่ใหม่ ทันสมัย

การดำเนินการงานวารสาร มี 4 ประเภท
-          การจัดหาหนังสือ
-          การจัดหาวารสาร
-          การจัดหาโสตทัศนวัสดุ
-          การจัดหาฐานข้อมูล

ขั้นตอนการทำงานวารสาร มี 7 ขั้นตอน
1. การตรวจสอบรายการ
การตรวจซ้ำรายการวารสารที่มีผู้ใช้ เสนอแนะ ผ่านเว็บ หรือแบบฟอร์ม
บรรณารักษ์พิจารณาจาก catalog
ตรวจไม่พบรายการพิจารณาก่อนจัดหา แจ้งผู้เสนอทราบ 
ตรวจพบรายการแจ้งผู้เสนอแนะทราบ

2. การจัดหาวารสาร
นโยบายในการจัดหาวารสาร จัดหาวารสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับหลักสูตร
งบประมาณในการจัดหาวารสาร

กรณี วารสารต่างประเทศ มี 2 รูปแบบ
-          การบอกรับผ่านตัวแทนจำหน่าย

ขั้นตอนการบอกรับ
-ติดต่อผ่านตัวแทนจำหน่าย เสนอราคาเปรียบเทียบ
-ตรวจสอบรายการที่จะจัดหาวารสาร
ส่งให้ เลขานุการฝ่ายการเงินดำเนินเรื่องขออนุมัติจาก ผอ.
-ส่งให้ฝ่ายดำเนินการติดต่อบริษัทตัวแทนให้บริษัทยืนยันการจัดซื้อและส่งใบแจ้งหนีกลับมาทางฝ่ายวัสดุ
-ฝ่ายการเงินจะแจ้งกลับว่าใช้เงินเท่าไรและทำเรื่องโอนเงินผ่านธนาคารให้กับบริษัท

-          ได้รับจากการบริจาค  พิจารณาผ่านการคัดเลือกก่อนนำเข้าหอสมุดและเนื้อหาต้องตรงต่อความต้องการใช้ของผู้ใช้บริการ

3. สร้างระเบียนวารสาร
สร้างระเบียนบรรณานุกรมวารสารในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
การสร้างระเบียนรายการซื้อ
การสร้างระเบียนลงรายการ
4. การลงทะเบียนรายการวารสาร
     เป็นการสร้างข้อมูลรองรับเมื่อได้รับวารสารจะบอกข้อมูลว่ารับวันไหน ปีอะไร เดือนอะไร กี่ฉบับ การดำเนินงานจะต้องส่งก่อน โมงเย็น

5. การทวงวารสาร
เพื่อความครบถ้วนและสมบรูณ์ของวารสารจะต้องทวงให้บริษัทที่จัดส่งให้ครบทุกรายการผ่านช่องจาก จดหมาย อีเมล์ แฟกต์

6. การจัดทำดรรชนีวารสาร
     จัดทำให้เสร็จภายใน 3 สัปดาห์

7. การเย็บเล่มวารสาร
     ขั้นตอนการทำการร่วมกันกับฝ่ายบริการ
-          รวบรวมตัวเล่มฉบับย้อนหลัง จะต้องมีฉบับใหม่เข้ามาก่อนอย่างน้อย 2 ฉบับ
-          จะไม่ได้เย็บเล่มเองส่งให้ทางร้านเย็บเล่ม ราคา เย็บเล่ม เล่มละ 100 บาท

ขั้นตอนการดำเนินการวารสารอิเล็กทรอนิกส์
-          สอบรายการ
-          จัดหาวารสาร
-          การสร้างระเบียนวารสาร




ฝึกลงรายการบรรณานุกรมวารสารภาษาต่างประเทศและดูตัวอย่างจากฐานข้อมูลเป็นแบบในการลงรายการวารสาร




ฝึกประสบการณ์วันที่  17 มีนาคม 2560

เวลา 09.00 น.- 16.00 
เข้าพบ อาจารย์ สุดารัตน์ รัตนราช งานลงวิเคราะห์หมวดหมู่และลงรายการหนังสือภาอังกฤษ ได้อธิบายรายละเอียดของงานตามลำดับของขั้นตอนการทำงานรายละเอียดดังต่อไปนี้

การวิเคราะห์หมวดหมู่และลงรายการหนังสือภาษาอังกฤษ
ภาพรวมงานลงรายการวิเคราะห์หมวดหมู่
          หลังจากจัดหาทรัพยากรมาแล้วตามลำดับจะส่งมาที่งานวิเคราะห์และลงรายการหมวดหมู่หนังสือภาษาอังกฤษ
ขั้นตอนการทำงาน
-          ตรวจสอบในรายการบรรณานุกรม
-          เพิ่มเติมส่วนของบรรณานุกรมให้สมบรูณ์
-          ให้หัวเรื่องและวิเคราะห์เลขหมู่
-          ส่งไปที่งานจัดเตรียมตัวเล่มเพื่อส่งออกให้ฝ่ายบริการ

วิธีการลงรายการ AACR2 ของทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน แบ่งได้ตามต่อไปนี้
ซึ่งจะมี tag หลักที่ใช้ในการลงรายการมีอยู่คราวๆ
Tag 020 เลข มาตรฐานสากลสำหรับหนังสือ ISBN เป็นเขตข้อมูลสำหรับบันทึกเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ ได้แก่ ลักษณะปก เลขลำดับเล่ม เป็นต้น
โครงสร้าง ISBN
ISBN 10 ตัว ประกอบด้วยกลุ่มตัวเลข 10 หลัก แบ่งได้ 4 ส่วน
-          รหัสกลุ่มประเทศ
-          รหัสสำนักพิมพ์
-          รหัสชื่อเรื่อง
-          เลขตรวจสอบ
ISBN 13 ตัว ประกอบด้วยกลุ่มตัวเลข 13 หลัก แบ่งได้ 5 ส่วน
-          รหัสบาร์โค้ดแสดงสินค้า/ผลิตภัณฑ์
-          รหัสกลุ่มประเทศ
-          รหัสสำนักพิมพ์
-          รหัสชื่อเรื่อง
-          เลขตรวจสอบ

Tag 041 รหัสภาษา
เป็นรหัสอักษร 3 ตัวแทนภาษาของหนังสือในกรณีดังต่อไปนี้
1. หนังสือที่เนื้อหามากกว่า 1 ภาษา
2. หนังสือแปล
3. ภาษาของเรื่องย่อ สาระสังเขป หรือเอกสารประกอบอื่นๆ

 Tag 043 รหัสพื้นที่ทางภูมิศาสตร์
เป็นเขตข้อมูลสำหรับบันทึกพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ เป็นอักษร 7 ตัว ซึ่งการลง นี้มีความสัมพันธ์กับการระบุเขตภูมิศาสตร์ใน tag 610 650 651 690


Tag 049 สถานที่เก็บสิ่งพิมพ์
เป็นเขตข้อมูลสำหรับบันทึกอักษรย่อหรือชื่อของสถานะที่เก็บสิ่งพิมพ์

Tag 050 เลขเรียกหนังสือระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน
 Tag 100 รายการหลัก-ชื่อบุคคล
เป็ยเขตข้อมูลสำหรับบันทึกรายการหลักที่เป็นชื่อบุคคล
-          กรณีงานของผู้แต่งที่เป็นบุคคลมากกว่า 1 คน แต่ไม่เกิน 3 คน ให้ลงผู้แต่งชื่อแรกเป็นรายการหลัก และทำรายการเพิ่มผู้แต่งที่ไม่ได้ลงเป็นรายการหลักใน tag
Tag 110  รายการหลัก-ชื่อนิติบุคคล (ชื่อหน่วยงาน)
Tag 111 รายการหลัก-ชื่อการประชุม การสัมมนา นิทศการ
Tag 130 รายการหลัก-ชื่อเรื่องแบบฉบับ
Tag 245 ชื่อเรื่องจริงและการแจ้งความรับผิดชอบ
Tag 246 ชื่อเรื่องที่แตกต่าง
Tag 250 การแจ้งฉบับพิมพ์ ครั้งที่พิมพ์
Tag 260 การพิมพ์การจำหน่าย
Tag 300 ลักษณะรูปร่าง
Tag 490 ชื่อชุดที่ไม่เป็นรายการเพิ่มในแนวสืบค้น
Tag 520 หมายเหตุเกี่ยวกับสรุปย่อ
Tag 600 รายการเพิ่มหัวเรื่องที่เป็นชื่อบุคคล
Tag 610 รายการเพิ่มหัวเรื่องที่เป็นชื่อนิติบุคคล ชื่อการประชุมที่ลงรายการภายใต้ชื่อนิติบุคคล
Tag 999 ผู้จัดทำระเบียนบรรณานุกรม

   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น