วันอังคารที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2560

รายงานฝึกประสบการณ์ สัปดาห์ที่ 9 วันที่ 23 มีนาคม 2560

ฝึกประสบการณ์วันที่  23 มีนาคม 2560

เวลา 09.00 น.- 16.00
เข้าพบ อาจารย์ รัสรินทร์ นิศาธรรมพัฒน์ ได้อธิบายเนื้อหาในส่วนของงานการจัดหาทรัพยากรสื่อโสตทัศนฯ และขั้นตอนการลงรายการสื่อโสตทัศน์ฯ

การจัดหาทรัพยากรสื่อโสตทัศนฯ
การจัดหาทรัพยากรสื่อโสตทัศนฯ วิธีการจัดหาสื่อ มีดังต่อไปนี้
1. การจัดซื้อแบบสำรวจตลาด  ที่ได้นับความนิยมในตลาดสื่อ สื่อโสตทัศนฯเน้นการคัดเลือกเนื้อหาทางสื่อวิชาการ สื่อสารคดี สื่อบันเทิง ไม่มีเนื้อหารุ่นแรง ไม่มีภาพโป๊เปื่อย ปัจจุบัน สำนักหอสมุด มก. จัดทำสื่ออย่าง 1 coppy ให้บริกการ
2. สำนักพิมพ์เสนอแนะ  หากสื่อน่าสนใจจะทพการจัดซื้อตามขั้นตอน ทำการจัดซื้อไม่เกิน 45 วัน
3. การบริจาค มีการส่งมาจากหน่วยงานต่างๆที่ได้รับมาฟรี
4. จัดซื้อจาก web amazon

ขั้นตอนการลงรายการสื่อโสตทัศนฯ
-      นำมาเช็คซ้ำ ตรวจสอบสื่อ
-      สร้างระเบียนต่างๆ
-      ทำการลงรายการ Tag
-      หากเสร็จแล้วนำส่งให้งานจัดเตรียม เตรียมสื่อ
-      ทำใบรายชื่อส่งให้ฝ่ายบริการ

วิธีการลงรายการสื่อโสตทัศนฯ
Tag ที่สำคัญในการลงรายการ มีดังนี้
Tag 040 ระบุแหล่งที่จัดทำข้อมูลการทำรายการ
Tag 099 ระบุเลขโสตทัศน์ฯที่กำหนดขึ้นเอง
Tag 100 ชื่อบุคคล
Tag 245 ชื่อเรื่องที่รับผิดชอบ
Tag 246 ชื่อเรื่องที่แตกต่าง
Tag 260 ลงปีพิมพ์
Tag 300 ลักษณะรูปร่าง
Tag 490 ชื่อชุด
Tag 500 ระบุหมายเหตุทั่วไป
Tag 505 ระบุหมายเหตุสารบัญ
Tag 520 ระบุหมายเหตุเกี่ยวกับสรุปย่อ
Tag 538 รายละเอียดของระบบ
Tag 546 หมายเหตุที่เกี่ยวกบภาษา
Tag 999 ผู้จัดทำระเบียนบรรณานุกรม


ส่วนที่แตกต่างจากการลงรายการทั่วไป
GMD (General Material Designation) เป็นส่วนที่ระบุประเภทของวัสดุทางสำนักหอสมุด มก. กำหนดไว้ 3 ประเภท
-          Eiectronic resource  ใช้กับ แฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์
-          Videorcording  ใช้กับ  วีดิทัศน์
-          Sound recording  ใช้กับ วัสดุบันทึกเสียง

GMD เขตข้อมูล 245 ใส่ในเครื่องหมายวงเล็บเหลี่ยม [ ] หลังชื่อเรื่องเสมอเป็นภาษาอังกฤษ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น