ฝึกประสบการณ์วันที่ 22 มีนาคม 2560
เวลา
09.00
น.- 12.00 น
เข้าพบ อาจารย์ เพ็ญสุภา แก้วพิทยาภรณ์
งานการแปลงข้อมูลวิทยานิพนธ์ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้อธิบายความเป็นมาตั้งแต่เริ่มแปลงไฟล์ในสมัยปี
พ.ศ 2545 ซึ่งได้มีแนวคิดการจัดเก็บไฟล์ทรัพยากรในห้องสมุดที่เป็นวิทยานิพนธ์
สมัยก่อนมีแค่ตัวเล่มไม่มีการทำให้รูปแบบไฟล์
จึงมีการเริ่มนำเอาเอกสารมาสแกนเพื่อนำมาทำเป็นไฟล์และพัฒนาต่อมาเรื่อยๆจนมีขั้นตอนการปฏิบัติงานในปัจจุบัน
ปัจจุบันจะให้ผู้เป็นเจ้าของวิทยานิพนธ์ส่งตัวเล่มพร้อมแผ่นเพื่อความรวดเร็วในการเก็บข้อมูล
ตามขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนปฏิบัติงานตัวเล่มวิทยานิพนธ์
-
ผู้ปฏิบัติงานบริหารจะตรวจรับตัวเล่มและเช็คความสมบรูณ์
-
ตรวจสอบไฟล์ให้เรียบร้อย
ขั้นตอนเก็บไฟล์ข้อมูล CD
-
เก็บคัดลอกไฟล์ข้อมูล pdf จากแผ่นซีดีวิทยานิพนธ์ลงคอมพิวเตอร์ตั้งชื่อนามสกุลตามหลักของสำนักหอสมุด
-
ปลดล็อครหัสความปลอดภัยให้กับไฟล์
-
กำหนดข้อมูลลง Metadata
-
สร้าง bookmark กับหน้าต่างๆ
แล้ว save
-
รหัสความปลอดภัยให้กับไฟล์
-
จัดเก็บไฟล์ pdf ที่ดำเนินการเรียบร้อยไว้ที่ server
-
เพิ่มข้อมูลใน tag 856 เพื่อเชื่ลิ้งไปยังหน้าเว็บ
-
ลง tag 999 เพิ่มผู้รับผิดชอบ
เวลา
13.00
น.- 16.00 น
เข้าพบ
อาจารย์ ชุติมาส บุญหนุน งานจัดเตรียมทรัพยากรสารสนเทศ ได้อธิบายขั้นตอนการจัดเตรียมตัวเล่มทรัพยากรก่อนออกให้บริการ
หน้าที่ของงานจัดเตรียมทรัพยากร
- ดูแลงาน
ประทับตรา ติดสัน และงานซ่อมหนังสือ
- งบประมาณประจำปี
เพื่อใช้ซื้อค่าวัสดุงานจัดเตรียมทรัพยากรสารสนเทศ
- ทำบันทึกข้อความขอเบิกจ่ายซื้อค่าวัสดุจัดเตรียมทรัพยากรสารสนเทศ
- เช็คสถิติปฏิบัติงานจัดเตรียมทรัพยากรสารสนเทศ
(รายเดือน)
- จัดทำตารางเวรรับ-ส่งเอกสารของฝ่าย
และตารางเวรรับหนังสือบริจาค
งานหลักของการจัดเตรียมตัวเล่มหนังสือ
- รับตัวเล่มจากบรรณารักษ์มาจากที่วางบนชั้นเพื่อ
“รอประทับตรา”
-
ซ่อมเอกสาร หนังสือต่างๆ จำนวน 3
ตำแหน่ง คือ บริเวณขอบสันหนังสือด้านบน ล่าง และด้านขวา
§ กรณีเป็นสิ่งพิมพ์ มก. ประทับตรา บริเวณมุมบนด้านขวาของหน้าแรก
และติดสติ๊กเกอร์ “KU” บริเวณมุมบนด้านขวาของหน้าปกหนังสือ
§ ประทับตราหน้า 15 คำว่า “สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์” ที่กลางหน้ากระดาษด้านบนกรณีที่ไม่มีเลขปรากฏก็นับให้ครบ 15 หน้า แต่หากพบว่าหน้าที่ 15
นั้นมีรูปภาพและมีสีมืด อาจอนุโลมให้ประทับตราในหน้าถัดไปหรือก่อนหน้านี้ได้
-
ติดบาร์โค้ดด้านหลังหนังสือ
- พนักงานซ่อมเอกสาร
พิจารณาเจาะเย็บ/ทากาวตัวเล่มหนังสือใหม่ เพื่อเพิ่มคงทนและยืดอายุการใช้งาน
งานหลักของการจัดเตรียมตัวเล่มวานสาร
วารสารจะไม่ประทับตราพระพิรุนและไม่มีบาร์โค้ดเหมือนหนังสือจะจัดทำขึ้นเอง
- ประทับตรา
คำว่า “สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์” ด้านบนของหน้าปกใน
และถัดลงมาเป็นการประทับตราวันที่
-
ประทับตรา คำว่า “สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์” จำนวน 3 ตำแหน่ง คือ บริเวณขอบสันหนังสือด้านบน ล่าง และด้านขวา
-
ประทับตราหน้า 15 คำว่า “สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์”
ที่กลางหน้ากระดาษด้านบน หรือถ้าไม่มีเลขปรากฏก็นับให้ครบ 15 หน้า แต่หากพบว่าหน้าที่ 15 นั้นมีรูปภาพและมีสีมืด
อาจอนุโลมให้ประทับตราในหน้าถัดไปหรือก่อนหน้านี้ได้
-
กรณีที่มีบาร์โค้ด
ให้ติดบาร์โค้ดในบริเวณชิดขอบกึ่งกลางปกหลังด้านนอกของวารสารแล้วปิดทับด้วยเทปใส
- พนักงานซ่อมเอกสาร
นำวารสารที่ผ่านการประทับตราแล้ว ส่งคืนให้กับบรรณารักษ์งานวารสาร
แนวทางการปฏิบัติงานซ่อมหนังสือ
- เจ้าหน้าที่บริการจะเป็นผู้สำรวจหนังสือและนำส่งให้ฝ่ายซ่อมหนังสือ
- กำหนดการส่งหนังสือเพื่อซ่อมบำรุงทุก
2 สัปดาห์ / ครั้ง / เดือน
- การซ่อมทำสันและทำปกใหม่
หากซ่อมเรียบร้อยแล้วเขียนปกใหม่ ด้วยปากกาไฟฟ้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น