วันอังคารที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2560

รายงานฝึกประสบการณ์ สัปดาห์ที่ 8 วันที่ 14 มีนาคม 2560

ฝึกประสบการณ์วันที่  14 มีนาคม 2560

เวลา 09.00 น.- 16.00
เข้าพบอาจารย์ วันเพ็ญ ปรีตะนนท์ ส่วนของงานการจัดซื้อฐานข้อมูลและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้อธิบายรายละเอียดของงานจัดซื้อโดยละเอียดดังต่อไปนี้

การจัดซื้อฐานข้อมูลและสื่ออิเล็กทรอนิกส์
การจัดซื้อฐานข้อมูลและสื่ออิเล็กทรอนิกส์จัดซื้อในรูปแบบ
-          ฐานข้อมูลฉบับเต็ม
-          ฐานข้อมูลบรรณานุกรม
นโยบายในการจัดซื้อฐานข้อมูล มีการจัดสรรงบประมาณ แบ่งได้ 4 ส่วน
-          ฐานข้อมูล 40 %
-          วารสาร 10 %
-          หนังสือ 15 %
-          สื่อโสต 1 %
นโยบายในการจัดซื้อฐานข้อมูล มี 2 รูปแบบ
-          จัดซื้อสิ่งพิมพ์
-          จัดซื้อสื่ออิเล้กทรอนิกส์
งบประมานในการหาฐานข้อมูลได้จาก
-          งบประมาณแผ่นดิน 20 %
-          งบประมาณของเงินรายได้สำนักหอสมุด 80 %
คุณสมบัติของบุคลากรในการจัดซื้อฐานข้อมูล
-          มีความรู้ด้านภาษาอักฤษเพื่อติดต่อประสานงานได้
-          มีความรู้ทางด้านอินเทอร์เน็ต
-          มีความรู้ในการจัดหาสารสนเทศ
-          มีข้อมูลทางด้านแหล่งผลิตสินค้าและคุณสมบัติของสินค้า
-          ต้องเป็นผู้เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา
ปัจจุบันการจัดหา แบ่งออกได้ 2 ลักษณะ
-          ทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ที่ผลิตขึ้นเอง
-          จัดหาหรือจัดซื้อและจากการบริจาค จัดหาโดยหน่วยงานของเราเอง หรือแบบภาคีสมาชิกเป็นการร่วมมือของสมาชิกในการจัดหาทรัพยากร มี 2 แห่ง ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค (Provincial University Library Network = PULINET และ โครงการเครือข่ายห้องสมุดแห่งประเทศไทย Thalis
ขบวนการจัดหาฐานข้อมูล
-          คัดเลือกทรัพยากร สามารถบ่างย่อยได้ดังต่อไปนี้
-เสนอชื่อในการคัดเลือกและจะให้สิทธิ อาจารย์ นักวิจัย นิสิต ก่อน สามารถกรอกแบบ
ฟรอม์เสนอแนะ หรือเสนอผ่านหน้าเว็บไซต์
-          ผู้คัดเลือกคือผู้อำนวยการสำนักหอสมุกเป็นผู้พิจารณาทรัพยาการอิเล็กทรอนิกส์ คณะกรรมการพัฒนาทรัพยากร อาจารย์คณะหรือสาขาวิชาต่างๆ
หลักเกณฑ์การจัดหา
-          เนื้อหาต้องมีความสอดคล้องตรงกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และต้องกับความต้องการ
-          ราคาไม่สูงเกินไป
-          รูปแบบของการใช้งานสอดคล้องกับระบบที่มีอยู่ในห้องสมุด
-          เนื้อหาต้องมีความถูกต้องชัดเจน
-          เป็นเนื้อหาสหสาขาวิชาควบคุมทุกสาขาวิชา
วิธีการบอกรับสั้งซื้อมี 2 วิธี
1.       บอกรับสั่งซื้อกับตัวแทนจำหน่าย 90 %
2.       บอกรับกับบริษัทผู้ผลิตโดยตรง
งานหลักของการบอกรับสั่งซื้อ 2 วิธี
1.       ต่ออายุฐานข้อมูล
2.       การจัดหาฐานข้อมูล
ต่ออายุฐานข้อมูลพิจารณาโดย
1.       รวบรวมสถิติการใช้ฐานข้อมูลในงบประมาณที่ผ่านมา
2.       ตรวจสอบสถิติการใช้เพื่อพิจารณาฐานข้อมูลในปัจจุบันว่าเราจะใช้อยู่หรือไม่
3.       คำนวนเงินงบประมาณแต่ละปี
4.       พิจารณางบประมาณการจัดสรรที่ได้รับเพียงพอต่อการต้ออายุฐานข้อมูลใดบ้าง
5.       รวบรวมรายชื่อฐานข้อมูลแล้วแจ้งสำนักพิมพ์เพื่อแจ้งในเสนอราคาเพื่อเปรียบเทียบข้อมูลปีที่แล้วมีความแตกต่างกันไหม
6.       แจ้งราคาที่เราพึงพอใจ แล้วแจ้งสำนักพิมพ์เพื่อขอใบแจ้งหนี้
7.       เบิกจ่ายโดยส่งเอกสารเพื่ออนุมัติเบิกจ่าย
8.       ชำระเงินฐานข้อมูล
9.       แจ้งฝ่ายบริการเพื่อประชาสัมพันธ์
10.   ตรวจสอบหลังการใช้ฐานข้อมูล หากมีปัญหาต้องแจ้งสำนักพิมพ์

จัดหาหาฐานข้อมูลใหม่ดดยพิจารณาจาก
1.       เนื้อหาต้องสอดคล้องกับการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2.       คุณภาพทรัพยากรในฐานข้อมูล
3.       พิจารณาข้อมูลการบอกรับที่มีการเรียนการสอนใกล้เคียงกับ มก.
4.       ต้องพิจารณาเงื่อนไขของฐานข้อมูล
5.       ดูสถิติการทดลองใช้ฐานข้อมูล


จัดซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
แนวทางการดำเนินการจัดซื้อ
-          ดำเนินการจัดซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นอันดับแรกในกรณีหนังสือที่ได้รับคัดเลือกทั้งแบบ สิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์
-          มีส่วนร่วมการพิจารณาคัดเลือกจากอาจารย์คณะต่างๆ
รูปแบบการจัดซื้อ ปี 2558-2559
-          จัดซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบซื้อขาดจากสำนักพิมพ์ตามสาขาวิชา จัดซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์โดยการชำระเงินค่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อเข้าใช้งานเป็นระยะเวลา 1 ปี เมื่อครบกำหนดระยะเวลาจึงพิจารณาคัดเลือกหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จากรายชื่อที่สามารถเข้าใช้งานภานในวงเงินที่ได้ชำระไป
-          จัดซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบรายเล่มรวบรวบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ส่งให้อาจารย์แต่ละคณะคัดเลือก
-          จัดซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบบอกรับรายปี
ขั้นตอนการทำโปรแกรม e-book section และ e-book proplus
1.       จัดสรรงบประมาณหนังสืออิเล็กทรอนิกส์โดยพิจารณาจัดสรรงบประมาณให้กับคณะต่างๆตามเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณของคณะ
2.       ติดต่อประสานงานฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อจัดทำโปรมแกรม e-book section และ e-book proplus
3.       รวมรายชื่อหนังสื้ออิเล็กทรอนิกส์ที่ได้จากร้านค้าหรือสำนักพิมพ์เพื่อส่งให้ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศนำข้อมูลเข้าโปรแกรม
4.       จัดส่งบันทึกข้อความแจ้งอาจารย์แต่ละคณะเรื่องการคัดเลือกหนังสืออิเล็กทรอนิกส์พร้อมงบประมาณแต่ละคณะที่จัดสรรโดยสามารถคัดเลือกหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2558 – 31 มกราคม 2559
5.       คณะต่างๆยืนยันการคัดเลือกหนังสืออิเล้กทรอนิกส์โดยผู้แทนแต่ละคณะที่ได้รับมอบหมายผ่านระบบในระหว่างวันที่ 1 – 25 กุมภาพันธ์ 2559
6.       สำนักหอสมุด มก. ทำการปิดคัดเลือกหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2559
7.       รวบรวมและตรวจสอบความซ้ำซ้อนรายชื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อทำการสั่งซื้อ
8.       ดำเนินการจัดซื้อภายในเดือน มีนาคม และรายงายผลการจัดซื้อ เดือน เมาษายน

 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น