วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

รายงานฝึกประสบการณ์ สัปดาห์ที่ 5 วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2560

ฝึกประสบการณ์วันที่ 16 กุมภาพันธุ์ 2560


สถานที่ฝึกงาน ณ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต บางเขน



เข้าพบ อาจารย์ รุ่งรัชณี ฮาร์เลย์ เล่ารายอะเอียดเกี่ยวกับ อาคารหอประวัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก่อนจะมีแขกมาเยี่มชมเพื่อเป็นการติวทำความเข้าใจอย่างละเอียดเผื่อแขกถามจะได้ตอบได้ว่า เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนหลังแรกของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รับโอนจากวิทยาลัยเกษตรกรรม กรมเกษตร กระทรวงเกษตราธิการ เมื่อสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปี พ.ศ. ๒๔๘๖ อาคารหลังนี้เป็นอาคารคอนกรีต ๒ ชั้นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ใช้อาคารหลังนี้ประกอบพิธีประสาทปริญญาบัตรแก่เกษตรบัณฑิตรุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๘๙ ถึงรุ่นปี พ.ศ. ๒๔๙๒ โดย ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ ณ ชั้นล่าง ห้องทางด้านทิศตะวันออก แต่คุณค่าที่สำคัญยิ่งทางประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเกตรศาสตร์ คือ ในปี พ.ศ. ๒๔๙๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานปริญญาบัตร แก่เกษตรบัณฑิต ณ ชั้นบนห้องทางด้านทิศตะวันออก
ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์อาคารหลังนี้ จึงได้ดำเนินการซ่อม สงวนรักษา อาคารหลังนี้ไว้เป็นหอประวัติ เพื่อแสดงเรื่องราวต่าง ๆ ในอดีตอันเป็นเกียรติภูมิของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ได้สร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศชาตินานัปการ ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน

หอประวัติมี 4 ห้อง
ห้องแรก ห้องเย็นศิระเพราะพระบริบาล
แสดงภาพเหตุการณ์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมายังมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ด้วยพระราชภารกิจ และพระราชประสงค์ต่างๆ และเป็นห้องทรงใช้รับปริญญาบัตรในสมัยก่อน



ห้องที่สอง แสดงประวัติและผลงานของสามบูรพาจารย์ผู้เริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และบุคคลผู้เป็นความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัย (แก้วเกษตร)


ห้องที่สาม แสดงประวัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งความเปลี่ยนแปลงทั้งกายภาพและวิถีชีวิต อาทิ การรับน้องใหม่ การแข่งขันกีฬา การแต่งงาน ฯลฯ โดยแบ่งเป็นช่วงเวลาละ 10 ปี
การจัดตั้งมหาวิทยาลัย
ความเป็นมาก่อนการจัดตั้งมหาวิทยาลัย
- ลำดับเหตุการณ์ในก่อนการจัดตั้ง
มหาวิทยาลัยในทศวรรษแรก (พ.ศ. ๒๔๘๖-๒๔๙๕)
- ลำดับเหตุการณ์ในทศวรรษแรก

มหาวิทยาลัยในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. ๒๔๙๖-๒๕๐๕)   
- ลำดับเหตุการณ์ในทศวรรษที่สอง
มหาวิทยาลัยในทศวรรษที่สาม (พ.ศ. ๒๕๐๖-๒๕๑๕)  
- ลำดับเหตุการณ์ในทศวรรษที่สาม
มหาวิทยาลัยในทศวรรษที่สี่ (พ.ศ. ๒๕๑๖-๒๕๒๕)
- ลำดับเหตุการณ์ในทศวรรษที่สี่
มหาวิทยาลัยในทศวรรษที่ห้า (พ.ศ. ๒๕๒๖-๒๕๓๕)
- ลำดับเหตุการณ์ในทศวรรษที่ห้า
มหาวิทยาลัยในทศวรรษที่หก (พ.ศ. ๒๕๓๖-๒๕๔๕)
- ลำดับเหตุการณ์ในทศวรรษที่หก


 ห้องที่ ๔ ก้าวสู่ทศวรรษที่เจ็ดและนิทรรศการเกษตรศาสตร์




ช่วงเช้า 13.00 น.- 16.00 น

ชมหอนิสิต (2) และเล่าประวัติความเป็นมาของหอพักนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้สร้างหอพักชายเรือนไม้เริ่มแรกทั้งหมด ๕ หลัง คือ หอ ๑ หอ ๕ และสร้างเพิ่มอีก ๔ หลัง คือ หอ ๖ หอ ๙ สร้างเป็นแนวเรียงกันตามแนวถนน (ถนนระพีสาคริก ในปัจจุบัน) ลักษณะเป็นเรือนไม้ ๒ ชั้น มีมุขยื่นออกมา ชั้นล่างเป็นห้องโล่ง มีตู้เก็บของให้นิสิตคนละ ๑ ตู้ มีโต๊ะยาวกลางห้อง ๒ ๓ โต๊ะ สำหรับใช้ดูหนังสือและเป็นที่รีดผ้า ชั้นบนมีห้องโถงใหญ่จุเตียงนอนประมาณ ๒๓ ๒๕ เตียง ทุกเตียงมีมุ้งเพราะไม่มีมุ้งลวด มีห้องเดี่ยวอยู่หน้ามุข ๒ ห้อง ด้านซ้ายและขวาของบันไดเป็นห้องของหัวหน้าหอและรองหัวหน้าหอ มีห้องน้ำรวมและโรงอาหารด้านหลังหอพัก น้ำบริโภคใช้น้ำฝนที่รองใส่แท็งก์ไว้ ห้องอาบน้ำไม่มี นิสิตใช้คูน้ำ (ซึ่งขุดเอาดินขึ้นมาถมถนน) หน้าหอในการอาบน้ำและซักผ้า

 

 

 

 

 

 


 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น