สรุปรายงาน
สถานที่ฝึกงาน ณ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต บางเขน
นักศึกษาฝึกงาน จำนวน 3 คน ได้แก่ นางสาวชนากานต์ ขันธรรม (เจ้าของ Bloger)
นางสาวสุพัชรี แก้วเหล็กไหล
นายศรนารายณ์ บุญขวัญ
ฝึกประสบการณ์วันที่ 30 มกราคม 2560
ช่วงเช้า 09.00 น.- 12.00 น
เฝ้าเคาน์เตอร์บริการช่วยค้นคว้าและตอบคำถาม ได้ให้คำปรึกษากับผู้ใช้บริการ ดังนี้
- ช่วยสืบค้น web opac
- ช่วยสืบค้น วิทยานิพนธ์ 2 เรื่อง และทำการส่งไฟล์ให้ผู้ใช้ริการ ตามที่ต้องการ อาจมีเสียค่าใช้จ่ายด้วย
- ช่วยตอบคำถามทั่วไป เช่น หนังสือที่ต้องการอยู่ชั้นไหน เป็นต้น
ช่วงบ่าย 13.00 น - 16.00 น
ช่วยงานพี่บรรณารักษ์ ติดแทบลาเบลที่หน้าหนังสือ เกี่ยวกับ ธรรมะ และเรียงจีดเข้าชั้นตามเดิม
ช่วยงานพี่บรรณารักษ์ ติดแทบลาเบลที่หน้าหนังสือ เกี่ยวกับ ธรรมะ และเรียงจีดเข้าชั้นตามเดิม
ฝึกประสบการณ์วันที่ 31 มกราคม 2560
ช่วงเช้า 09.00 น.- 16.00 น
ช่วยอาจารย์ นภาลัย บรรณารักษ์ ติดแทบลาเบลที่หน้าหนังสือ เกี่ยวกับ ธรรมะ และเรียงจัดเข้าชั้นตามเดิม คัดแยกหมวดหมู่ตามลำดับ และพี่เลี้ยงสอนการมัดเชือกกองหนังสือให้ถูกวิธี
ฝึกประสบการณ์วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2560
ประชุมสรุปรายงานฝ่ายบริการ ตั้งแต่เริ่มงานในวันที่ 9 - 31 มกราคม 2560 เป็นเล่าการทำงานให้พี่เลี้ยงฝึกงานฟังว่ามีปัญหาในงานหรือไม่ ให้อธิบายงานต่างๆที่ละสถาบัน เพื่อให้ทราบถึงความเข้าใจงานที่ทำ และเพื่อเตรียมพร้อมเริ่มงานฝ่ายสารสนเทศในวันศุกร์นี้
ฝึกประสบการณ์วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 7 กุมภาพันธ์ และ 9 กุมภาพันธ์ 2560
ช่วงเช้า 09.00 น.- 16.00 น
เข้าพบอาจารย์ วันเพ็ญ ศรีจันทร์กุล งานฝ่ายสารสนเทศ อาจารย์ได้กล่าวอธิบายเกี่ยวกับการจัดหาทรัพยากรด้านการเกษตรและด้านคลังความรู้ว่ามีกระบวนการหรือแผนการให้การนำเอาทรัพยากรเข้าสู่ฐานข้อมูลนั้นทำอย่างไร ตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้
กระบวนการทำฐานข้อมูล
- จัดซื้อทรัพยากรทางด้านเกษตร
- คัดแยกทรัพยากร
- เช็ครายการหนังสือว่ามีการบันทึกแล้วหรือยัง ซ้ำกับรายการเก่าหรือไม่
- ทำการแคตล็อกรายการหนังสือ เช่น กำหนดหมวดหมู่ กำหนดคำสำคัญ ก่อนที่จะนำเข้า ฐานข้อมูล
- ตรวจสอบความถูกต้อง
- หลังจากนั้นเก็บรักษาทรัพยากร
หลังจากได้อธิบายกระบวนการทำฐานข้อมูลแล้วอาจารย์ วันเพ็ญ ได้ให้ QC File ตรวจสอบ ไฟล์ pdf ก่อนนำลงฐานข้อมูลว่ามีส่วนไหนผิดพลาดหรือไม่พร้อมให้บริการ
หากเสร็จเรียบร้อยให้ใส่ y
การบันทึกใช้ โปรแกรม EXcel
แฟ้มไฟล์ PDF
ฝึกประสบการณ์วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2560
ช่วงเช้า 09.00 น.- 12.00 น
เข้าพบ อาจารย์ สุพรรณี หงส์ทอง หัวหน้าฝ่ายงานสารสนเทศ ได้อธิบายรายละเอียดฝ่ายงานสารสนเทศ ดังนี้
การบริการจัดการฝ่ายสารสนเทศ
ภารกิจของฝ่ายสารสนเทศ มีอะไรเกี่ยวข้องบ้าง เช่น
1. เป็นแหล่งรวบรวมและให้บริการสืบค้นฐานข้อมูลทางด้านการเกษตรโดยตรง ด้านกระบือ และคลังความรู้ มก.
2. เป็นฝ่าที่พัฒนาเครือข่ายสารสนเทศด้านการเกษตร กระบือ ทั้งในและนอกต่างประเทศ
ความรับผิดชอบของฝ่ายงานสารสนเทศ
1. มีหน้าที่พัฒนาระบบสารสนเทศทางด้านเกษตรไม่ว่าจะในประเทศหรือต่างประเทศและได้ร่วมมือกับ FAO/AGRIS CARIS เช่น ศูนย์สนเทศทางการเกษตรแห่งชาติ และ ศูนย์สนเทศทางกระบือนานาชาติ
ศูนย์สนเทศทางการเกษตรแห่งชาติ
โดยให้บริการความรู้ในสาขาวิชาเกษตรและสาขาที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นการขยายการให้บริการสารสนเทศด้านการเกษตรจากฐานความรู้ที่ศูนย์สนเทศทางการเกษตรแห่งชาติ รวบรวมและให้บริการสารสนเทศและยังเป็นสมาชิกของเครือข่ายความร่วมมือในระบบสารนเทศทางการเกษตรนานาชาติ AGRIS เป็นต้น
ศูนย์สนเทศทางกระบือนานาชาติ
จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2524 โดยความสนับสนุนของ ศูนย์พัฒนาการวิจัยระหว่างประเทศ (IDRC) และองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ปัจจุบันดำเนินการโดยสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยให้บริการสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับกระบือ ได้แก่ Buffalo Bulletin วารสารวิชาการ วารสารอิเล็กทรอนิกส์ ฐานข้อมูลกระบือนานาชาติ ฐานข้อมูลควายไทย บริการสำเนาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับกระบือ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ บริการให้แก่ผู้สนใจ และบริการสืบค้นสารสนเทศด้านกระบือ
2. .ให้บริการความรู้สาขาทางด้านการเกษตรและสาขาที่เกี่ยวข้อง เช่น
ศูนย์ความด้านการเกษตร
ให้บริการความรู้ทางด้านเกษตรบริการหนังสือและสื่อความรู้ด้านการเกษตร บริการสืบค้นข้อมูล บริการสำเนาเอกสารเต็มฉบับ เป็นต้น
ช่วงบ่าย 13.00 น.- 16.00 น
เข้าพบ อาจารย์ บดินทร์ ผลพันพัว ฝ่ายงาน เว็บหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ e-Books ซึ่ง e-books ของทาง มก. ได้มีการจำจัดหนังอิเล็กทรอนิกส์ ในเรื่อง ด้านการเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพ และ หนังสือของพ่อในวาระพิเศษ ซึ่งทั้งหมด มี 1600 กว่ารายการ ผู้สนใจด้านการเกษตร สามารถศึกษาหาความรู้ได้จากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
http://ag-ebook.lib.ku.ac.th/index.php
หากต้องการค้นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ พิมพ์คำค้นให้ช่องค้นหา
หากพบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องการคลิกเข้าดู จะบอกรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลหนังชื่ออย่างคราวๆ บอกคำสำคัญ และ จำนวนการเปิดชมหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
รูปแบบหน้าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถคลิกเลือกดูรายการต่างๆ ได้โดยที่ไม่ต้องเปิดย้อนไปย้อนมา
โปรแกรมที่ทางฝ่ายสารสนเทศนำมาทำ E-books คือ fiippingbook ในการเป็นแบบทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
ข้อดีของการใช้ E-books
- สามารถอ่านได้หลายคน
- อ่านได้ทุกที่ทุกเวลาสะดวกและสบาย
- สามารถช่วยรักษาทรัพยากรหนังสือไม่ให้พังง่าย
ข้อกำจัด E-books
- หากไม่มีอินเตอร์เน็ต ไฟดับ ไวรัส ก็ไม่สามรถเปิดอ่านได้
กประสบการณ์วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2560
ช่วงเช้า 09.00 น.- 12.00 น
เข้าพบ อาจารย์ เฉลิมเดช เทศเรียน นักเอกสารสนเทศฝ่ายสารสนเทศ ซึ่งเป็นผู้ดูแลส่วนงาน ศูนย์สนเทศทางกระบือนานาชาติ International Buffalo Information Center (IBIC) ได้อธิบายงานในส่วนต่างให้ฟังว่าศูนย์สนเทศทางกระบือนานาชาติ จัดตั้งขึ้นในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524 ภายใต้การสนับสนุนของ ศูนย์พัฒนาการวิจัยระหว่างประเทศ (IDRC) และองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) เป็นแหล่งสารสนเทศด้านกระบือ ในระดับนานาชาติ โดยรวบรวมสารสนเทศทางกระบือจากแหล่งต่างๆทั่วโลก เพื่อจัดทำฐานข้อมูล และมีเอกสารสำเนาเต็มรูปแบบให้บริการอย่างเป็นระบบ
ลักษณะหน้าที่งานบริการ
1. บริการสารสนเทศในรูปแบบฐานข้อมูลออนไลน์ ที่ผู้ใช้สามารถสืบค้นผ่านอินเทอร์เน็ต
2. บริการสำเนาเอกสารฉบับเต็มที่ผู้ใช้สืบค้นได้จากฐานข้อมูล
3. บริการสืบค้นสารสนเทศ วารสาร ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2525 ราย 3 เดือน ม.ค – มี.ค ม.ย-มิ.ย
ก.ค-ก.ย และ ต.ค-ธ.ค จนถึง พ.ศ ปัจจุบัน
4. บริการจัดนิทรรศการเพื่อส่งเสริมงานทางด้านกระบือ
ปัจจุบันมี 2 ฐานข้อมูลให้บริการสืบค้นข้อมูล
1. ฐานข้อมูลควายไทย (Thai Buffalo Database)
รวบรวมข้อมูล จากงานวิจัยและบทความที่เกี่ยวข้องกับควายของประเทศไทย โดยให้รายละเอียดทางบรรณานุกรม และเอกสารฉบับเต็มในรูปแบบไฟล์ เป็นฐานข้อมูลภาษาไทย ให้บริการ
รวบรวมข้อมูล จากงานวิจัยและบทความที่เกี่ยวข้องกับควายของประเทศไทย โดยให้รายละเอียดทางบรรณานุกรม และเอกสารฉบับเต็มในรูปแบบไฟล์ เป็นฐานข้อมูลภาษาไทย ให้บริการ
ช่วงบ่าย 13.00 น.- 16.00 น
เข้าพบ อาจารย์ สุราภรณ์ คงผล ผู้ดูแลงานฝ่ายงานคลังความรู้ดิจิทล มก. คลังความรู้ดิจิทัล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นการจัดเก็บและให้บริการสารสนเทศที่เป็นผลงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทั้งที่เป็นผลงานวิชาการในเชิงองค์ความรู้ใหม่ และผลงานวิชาการในเชิงประยุกต์เพื่อการแก้ปัญหาและยังรวบรวมเพื่อเก็บรักษาผลงานอันทรงมีคุณค่าอีกด้วย
เปิดให้บริการเป็นทางการเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2558 ในวาระ 72 ปี แห่งการสถาปนา
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วัตถุประสงค์
· เพื่อเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ให้ได้รับการอ้างอิงในระดับชาติและระดับนานาชาติให้ผู้สนใจได้ใช้ประโยชน์
· เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการบริหารจัดการฐานข้อมูลผลงาน
กระบวนการผลงานสร้างสรรค์
· รวบรวบผลงานซึ่งเป็นผลงานที่จัดพิมพ์โดย คณะ สำนัก หรือเป็นผลงานอาจารย์ นักวิจัย โดยไม่จำกัดปีที่พิมพ์
http://kukr.lib.ku.ac.th/db/kukr/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น