วันอาทิตย์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2560

รายงานฝึกประสบการณ์ สัปดาห์ที่ 7วันที่ 10 มีนาคม 2560

ฝึกประสบการณ์วันที่วันที่ 10 มีนาคม 2560 



เวลา 09.00 น.- 16.00
เข้าพบ อาจารย์ วราภรณ์ แดงช่วง รองผู้อำนวยการทรัพยากรสารสนเทศได้อธิบายความหมายของการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตามหัวข้อดังต่อไปนี้

ภารกิจหลัก สำนักหอสมุด
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีภารกิจหลัก คือสนับสนุน การเรียนการสอนและ
การวิจัยของมหาวิทยาลัย และการให้บริการวิชาการแก่สังคม

กระบวนการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ
กระบวนการดำเนินงานเพื่อการจัดการ
ทรัพยากรสารสนเทศให้สอดคล้องกับความต้องการและความจำเป็นของผู้ใช้อย่างต่อเนื่องเป็นระบบครบวงจร

กระบวนการจัดทรัพยากร มี 6 แนวทาง
                   การกำหนดนโยบายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ
                    การวางแผนการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ
                    การเลือกทรัพยากรสารสนเทศ
                    การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ
                    การวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ
                    การเตรียมทรัพยากรสารสนเทศ

การกำหนดนโยบายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ
                   สนับสนุนงบประมาณดำเนินงานทรัพยากรสารสนเทศ 50%จากงบประมาณเงินรายได้สำนักหอสมุด ในการจัดซื้อสื่ออิเล็กทรอนิกส์ วารสาร หนังสือ และโสตทัศนวัสดุ กำหนดเกณฑ์ในการแบ่งงบประมาณสำหรับคณะ
                   จัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่สอดคล้องกับหลักสูตร การเรียน การ 
    สอน ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
                   จัดหาทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
ทดแทนฉบับพิมพ์
                   จัดหาทรัพยากรสารสนเทศทางการเกษตรให้สมบูรณ์โดยคำนึงถึงการเป็นศูนย์ข้อมูลด้านการเกษตรที่มีชื่อเสียง
                   กำหนดเกณฑ์ในการคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศ หนังสือ/วารสาร/โสตทัศนวัสดุ/ฐานข้อมูล




การวางแผนการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ
                   การกำหนดแผนงานจัดการทรัพยากรสารสนเทศ โดยกำหนด  โครงการ/กิจกรรม เป้าหมาย ตัวชี้วัด งบประมาณและ ระยะเวลาในการดำเนินงาน กำหนดการรายงานผล นำผลการประเมิน มาพัฒนาปรับปรงการดำเนินงานโดยกำหนดในแผนงานของปีต่อไป
                     การติดตามหลักสูตร /ภาควิชา การเรียน การสอน เป็นการติดตามการปรับปรุงหลักสูตร ตลอดจน  แนวโน้มของพัฒนาการของมหาวิทยาลัย เพื่อจัดหา ทรัพยากรสารสนเทศได้ตรงตามความเปลี่ยนแปลง

การคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศ
ทรัพยากรสารสนเทศที่ได้รับปริมาณมาก / ไม่ตรงตามเกณฑ์การคัดเลือกจะนำบริจาคต่อ ให้โครงการ/กิจกรรมของสำนักหอสมุด โครงการปล่อยหนังสือ โครงการ Read@KU โครงการห้องสมุดชุมชน

การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ
การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศของสำนักหอสมุดเป็นหน้าที่ของบรรณารักษ์งานจัดหาทรัพยากรสารสนเทศการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่ผ่านการคัดเลือกแล้ว มี 2 วิธี คือ การจัดซื้อและโดยการขอรับบริจาค

การวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ
การพิจารณาแยกแยะเนื้อหาของทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาเดียวกัน/ใกล้เคียงกัน/สัมพันธ์กัน จัดไว้ในหมวดหมู่ใกล้เคียงกัน แล้วกำหนดสัญลักษณ์ใช้แทนเนื้อหานั้น สำนักหอสมุด มก. ใช้การจัดหมวดหมู่หนังสือในระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classification) ในการดำเนินงาน

การเตรียมทรัพยากรสารสนเทศ
การทำหนังสือให้มีสภาพเรียบร้อยแน่นหนา และสามารถให้บริการได้ทนทาน อาจทำก่อนนำออกบริการหรือภายหลัง
บริการจำแนกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
   1. การป้องกัน หมายถึง การปรับปรุงหนังสือที่จัดหามาใหม่ให้มีสภาพแน่นหนา คงทนก่อนจะนำออกบริการ
   2. การซ่อมแซม หมายถึง การซ่อมแซมหนังสือที่ห้องสมุดนำออกบริการและถูก ใช้จนชำรุด จึงนำกลับเข้ามาซ่อมเพื่อให้มีสภาพเรียบร้อยพร้อมที่จะนำออกบริการ

งานลงรายการและวิเคราะห์หมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศ
กระบวนการในการจัดระบบทรัพยากรสารสนเทศที่ห้องสมุดจัดหาเข้ามาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือช่วยค้นหาทรัพยากรสารสนเทศ ประกอบด้วย การสร้างระเบียนบรรณานุกรม และการวิเคราะห์เนื้อหาสารสนเทศ
คู่มือการทำงาน
          MARC21
          LC classification
          Classificationweb.net


งานจัดเตรียมทรัพยากรสารสนเทศ
การจัดเตรียมทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อให้สะดวกแก่การใช้บริการ
·       การเชื่อมโยงบาร์โค้ด และ RFID
·       การพิมพ์สัน ติดสัน ติดแถบสี RFID ฯลฯ
·       การซ่อมแซมและบำรุงรักษา                
กำหนดการส่งทรัพยากรสารสนเทศให้ฝ่ายบริการ
หนังสือ                     จัดส่งสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
วารสาร                              ดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 4 ชม.ของทุกวัน
ดรรชนีวารสาร            ดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 3 สัปดาห์หลัง
                                      ได้รับตัวเล่มวารสาร
โสตทัศนวัสดุ               จัดส่งสัปดาห์ละ 5 รายการ
สื่ออิเล็กทรอนิกส์          เปิดใช้บริการหลังการยืนยันการจัดซื้อ ราคาไม่เกินล้านบาท ภายใน 15 -30 วัน
                               ราคาเกินล้านบาท ภายใน 30 วัน

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ของ สำนักหอสมุก มก.
Koha
LC classification หมวด AC, PZ, TT และ TX
Local call no.
หนังสือสำหรับเด็กและเยาวชน
หนังสือสิ่งแวดล้อม
หนังสือได้รับรางวัล
หนังสือน่าอ่านสำหรับบัณฑิต
หนังสืออภินันทนาการจากสำนักพิมพ์
หนังสือนิยาย เรื่องสั้น เรื่องแปล

Millennium
LC classification
หนังสือทั่วไปภาษาไทย, ภาษาต่างประเทศ
หนังสืออ้างอิง
หนังสือราชวงศ์
สิ่งพิมพ์ มก.
หนังสือขนาดใหญ่พิเศษ
Local call no.
จุลสาร
ผลงานวิชาการ
มอก. / มกอช. / มผช.




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น