สรุปรายงาน
สถานที่ฝึกงาน ณ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต บางเขน
นักศึกษาฝึกงาน จำนวน 3 คน ได้แก่ นางสาวชนากานต์ ขันธรรม (เจ้าของ Bloger)
นางสาวสุพัชรี แก้วเหล็กไหล
นายศรนารายณ์ บุญขวัญ
ฝึกประสบการณ์วันที่วันที่ 1 มีนาคม 2560
ช่วงเช้า 09.00 น.- 16.00
เข้าพบ อาจารย์ หทัยรัตน์ ศรีสุภะ ในวันที่ 2-3 มีนาคม ได้ฝึกงานฝ่ายเทคโนโลยีการศึกษา เข้าช่วยงานขนย้ายหนังสือเพื่อนำไปบริการจาคและติดสันหนังสือช่วยพี่ๆที่ฝ่าย และในช่วงบ่ายของวันที่ 3 อาจารย์ หทัยรัตน์ ศรีสุภะได้อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานประชาสัมพันธ์แนะนำอย่างคร่าวๆ ดังต่อไปนี้
แนะนำทีมงานประชาสัมพันธ์
· ผู้ช่วยผู้อำนวยการก้านประชาสัมพันธ์และลูกค้าสัมพันธ์และหัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยีการศึกษา นางสาววาทินี เขมกโรทัย
· นักประชาสัมพันธ์ สังกัดฝ่ายเทคโนโลยีการศึกษา นายพีรพัฒน์ ตุ้ยพิมาย
· นักประชาสัมพันธ์ สังกัดฝ่ายเทคโนโลยีการศึกษา นางสาวหทัยรัตน์ ศรีสุภะ
· ทีมงานประชาสัมพันธ์ (คณะทำงานที่ได้รับการแต่งตังจากฝ่ายต่างๆ)
ภาระงานของคณะทำงานประชาสัมพันธ์
· เขียนข้อความประชาสัมพันธ์เพื่อนำไปใช้ในการประชาสัมพันธ์ เนื้อหาภาษาไทย / ภาษาอังกฤษ โดยนักเอกสารสนเทศปฎิบัติการ
· เขียนข้อความเพื่อใช้ในการบันทึกเสียงประชาสัมพันธ์ เพื่อเผยแพร่เสียงตามสาย
· ลงข้อความประชาสัมพันธ์ในเว็บไซต์สำนักหอสมุด
· จัดทำสื่อ/เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ลงจอ TV on demand ของสำนักหอสมุด
· จัดทำสื่อ/เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ลงบนจอ LED
· จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ เช่น ประชาสัมพันธ์เร่งด่วน
· ลงข้อความประชาสัมพันธ์ใน Blog สำนักหอสมุด
· ลงข้อความ/รูปภาพกิจกรรมประชาสัมพันธ์ในสื่อสังคมออนไลน์ FACEBOOK
· ตรวจสอบความถูกต้องของสื่อประชาสัมพันธ์
· ติดตั้ง/เก็บป้ายประกาศและโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
· จัดทำข่าว สำนักหอสมุด มก. วันนี้ “KU Library TOday”
· ผลิตสื่อวิดิโอเพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์ เช่น บนจอ LED ของมหาวิทยาลัย และ youtube
· สำรวจข่าวหมดอายุ ทุกสื่อประชาสัมพันธ์ของสำนักสมุด
· ประชาสัมพันธ์บน kapok ในหมวด Education
· ส่งข่าวประชาสัมพันธ์ให้กับช่องทางต่างๆ เช่น ทางประชาสัมพันธ์ของสำนักหอสมุด เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเป็นต้น
· รวบรวมข้อมูลสื่อมวลชน
บรรยากาศการแนะนำงานประสัมพันธ์
ฝึกประสบการณ์วันที่วันที่ 2 มีนาคม 2560
ช่วงเช้า 09.00 น.- 16.00
เข้าพบ อาจารย์ นงค์ลักษณ์ เที่ยงธรรม ในวันที่ 2 มีนาคม ได้ฝึกงานฝ่ายเทคโนโลยีการศึกษาด้านงานลูกค้าสัมพันธ์สำหรับนิสิตต่างชาติ งานต้อนรับผู้เข้าเยี่ยมชม/ศึกษาดูงาน ซึ่งอาจารย์ได้อธิบายการดำเนินงานเกี่ยวกับงานต้อนรับนิสิตต่างชาติ ขั้นตอนการดำเนินงาน และได้ทดสอบการนำชมสถานที่ของมหาลัยตัวเองเป็นการฝึกแนะนำห้องสมุดให้อาจารย์ นงค์ลักษณ์ เที่ยงธรรม ได้รับฟัง
ขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ
· แบบบันทึกแจ้งรายละเอียดการประสานงานต่างๆ
· โทรสอบถามผู้ประสานงาน เช่น
· จำนวนผู้เข้าร่วม ตรวจสอบ เชื้อชาติหรือ
· สอบถามเรื่องที่จะมาศึกษาดูงาน เช่น ต้องการศึกษาเกี่ยวกับอะไรที่ห้องสมุด เป็นต้น
· สอบถามการเดินทาง ที่จอดสำหรับผู้มาศึกษาดูงาน
· สอบถามเวลาให้แน่นอน
· เตรียมอาหารว่าง และต้องตรวจสอบว่ามีมุสลิมหรือไม่
· วางแผนเตรียมวิทยาต่างๆ เพื่อนำมาบรรยายในหัวข้อนั้นๆ
· จัดทำกำหนดการตาที่วางแผนในแต่ละขั้นตอน
ฝึกประสบการณ์วันที่วันที่ 3 มีนาคม 2560
ช่วงเช้า 09.00 น.- 16.00
เข้าพบ อาจารย์ สุภัทรา นวชินกุล งานหารสื่อสารภายในองค์กรสำหรับบุคลากรสำนักหอสมุด
เป็นงานเกี่ยวกับการสื่อสารภายในสำนักงานหรือประชาสัมพันธ์ข่าวสารใน สำนัก มก. มุ่งเน้นการประชาสัมพันธ์กิจกรรม 5 ส ในสำนักงาน ให้เกิดการสร้างนิสัย ซึ่งได้มอบหมายงานให้ไปหาข้อมูล ข้อดี ข้อเสียภายในสำนักงาน มก. ว่ากิจกรม 5 ส ดำเนินการในแต่ละฝ่ายงายเป็นอย่างไร ตรวจสอบการติดป้ายประชาสัมพันธ์ของทุกฝ่าย
ฝึกประสบการณ์วันที่วันที่ 6มีนาคม 2560
งานขนย้ายหนังสือและติดสันหนังสือ
ฝึกประสบการณ์วันที่วันที่ 7 มีนาคม 2560
ช่วงเช้า 09.00 น.- 16.00 น
เขาพบอาจารย์ ศศินพร นาคเกษม นักวิชาการคอมพิวเตอร์ ปฎิบัติการ ได้อธิบายหัวข้องานหลักที่รับผิดชอบ คือ งานฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ข้อมูลสถิติ ระบบสนับสนุนปฎิบัติงาน และระบบสนับสนุนการให้บริการ
ให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะอธิบายโดยละเอียดดังต่อไปนี้
ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ
- กำลังอัตรา 8 คน มี 2 ระบบ
งานระบบเครือข่ายและคอมพิวเตอร์ข่าย
· นายอภิยศ เหรียญวิพัฒน์
· นางสาว ศศินพร นาคเกษม
นักวิชาการคอมพิวเตอร์
งานระบบสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ลูกข่าย
· นายชาญณรงค์ เผือกพูลผล
· นายประจักษ์ สุขอร่าม (นักวิชาคอมพิวเตอร์ 2)
· ดลนภา แว่วศรี
· รุ่งอรุณ ผาสุกสกุล (บรรณรักษ์ 2)
โครงสร้างฝ่าย
งานระบบเครือข่ายและคอมพิวเตอร์ข่าย
· บริหารจัดการระบบเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย
· บริหารจัดการระบบเครือข่ายและความปลอดภัยทางเครือข่าย
· บำรุงรักษาอุปกรณ์เครือข่ายและสายนำสัญญาณ
งานระบบสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ลูกข่าย
· พัฒนาและปรับปรุงระบบสารสนเทศ
· บริหารจัดการระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
· บำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายและอุปกรณ์ต่อพ่วง
ทรัพยากร
|
จำนวน
|
1. จุดให้บริการเครือข่ายใช้สาย(LAN)
|
688
|
2. จุดให้บริการเครือข่ายไร้สาย (KUWIN+AIS)
|
13-97
|
3. อุปกรณ์เครือข่าย
|
36
|
4. เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย
|
21
|
5. เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและพกพา
|
634
|
6. อุปกรณ์ต่อพ่วง
|
92
|
7. อุปกรณ์ RFD
|
17
|
8. ระบบสารสนเทศ
|
35
|
ข้อมูลสถิติด้านคอมพิวเตอร์และเครือข่าย
ระบบสารสนเทศสนับสนุนการปฏิบัติงาน
ระบบสำนักงานอิเล้กทรอนิกส์ช่วยให้การบริหารมีประสิทธิภาพและลกปริมาณการใช้กระดาษ ตามแนวนโยบายห้องสมุดสีเขียว GEEN LIBRARY
ฝึกประสบการณ์วันที่วันที่ 10 มีนาคม 2560
เวลา 09.00 น.- 16.00 น
เข้าพบ อาจารย์ วราภรณ์ แดงช่วง รองผู้อำนวยการทรัพยากรสารสนเทศได้อธิบายความหมายของการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตามหัวข้อดังต่อไปนี้
ภารกิจหลัก สำนักหอสมุด
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีภารกิจหลัก คือสนับสนุน การเรียนการสอนและ
การวิจัยของมหาวิทยาลัย และการให้บริการวิชาการแก่สังคม
กระบวนการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ
กระบวนการดำเนินงานเพื่อการจัดการ
ทรัพยากรสารสนเทศให้สอดคล้องกับความต้องการและความจำเป็นของผู้ใช้อย่างต่อเนื่องเป็นระบบครบวงจร
กระบวนการจัดทรัพยากร มี 6 แนวทาง
• การกำหนดนโยบายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ
• การวางแผนการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ
• การเลือกทรัพยากรสารสนเทศ
• การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ
• การวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ
• การเตรียมทรัพยากรสารสนเทศ
การกำหนดนโยบายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ
• สนับสนุนงบประมาณดำเนินงานทรัพยากรสารสนเทศ 50%จากงบประมาณเงินรายได้สำนักหอสมุด ในการจัดซื้อสื่ออิเล็กทรอนิกส์ วารสาร หนังสือ และโสตทัศนวัสดุ กำหนดเกณฑ์ในการแบ่งงบประมาณสำหรับคณะ
• จัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่สอดคล้องกับหลักสูตร การเรียน การ
สอน ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
• จัดหาทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
ทดแทนฉบับพิมพ์
• จัดหาทรัพยากรสารสนเทศทางการเกษตรให้สมบูรณ์โดยคำนึงถึงการเป็นศูนย์ข้อมูลด้านการเกษตรที่มีชื่อเสียง
• กำหนดเกณฑ์ในการคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศ หนังสือ/วารสาร/โสตทัศนวัสดุ/ฐานข้อมูล
การวางแผนการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ
• การกำหนดแผนงานจัดการทรัพยากรสารสนเทศ โดยกำหนด โครงการ/กิจกรรม เป้าหมาย ตัวชี้วัด งบประมาณและ ระยะเวลาในการดำเนินงาน กำหนดการรายงานผล นำผลการประเมิน มาพัฒนาปรับปรงการดำเนินงานโดยกำหนดในแผนงานของปีต่อไป
• การติดตามหลักสูตร /ภาควิชา การเรียน การสอน เป็นการติดตามการปรับปรุงหลักสูตร ตลอดจน แนวโน้มของพัฒนาการของมหาวิทยาลัย เพื่อจัดหา ทรัพยากรสารสนเทศได้ตรงตามความเปลี่ยนแปลง
การคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศ
ทรัพยากรสารสนเทศที่ได้รับปริมาณมาก / ไม่ตรงตามเกณฑ์การคัดเลือกจะนำบริจาคต่อ ให้โครงการ/กิจกรรมของสำนักหอสมุด โครงการปล่อยหนังสือ โครงการ Read@KU โครงการห้องสมุดชุมชน
การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ
การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศของสำนักหอสมุดเป็นหน้าที่ของบรรณารักษ์งานจัดหาทรัพยากรสารสนเทศการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่ผ่านการคัดเลือกแล้ว มี 2 วิธี คือ การจัดซื้อและโดยการขอรับบริจาค
การวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ
การพิจารณาแยกแยะเนื้อหาของทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาเดียวกัน/ใกล้เคียงกัน/สัมพันธ์กัน จัดไว้ในหมวดหมู่ใกล้เคียงกัน แล้วกำหนดสัญลักษณ์ใช้แทนเนื้อหานั้น สำนักหอสมุด มก. ใช้การจัดหมวดหมู่หนังสือในระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classification) ในการดำเนินงาน
การเตรียมทรัพยากรสารสนเทศ
การทำหนังสือให้มีสภาพเรียบร้อยแน่นหนา และสามารถให้บริการได้ทนทาน อาจทำก่อนนำออกบริการหรือภายหลัง
บริการจำแนกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1. การป้องกัน หมายถึง การปรับปรุงหนังสือที่จัดหามาใหม่ให้มีสภาพแน่นหนา คงทนก่อนจะนำออกบริการ
2. การซ่อมแซม หมายถึง การซ่อมแซมหนังสือที่ห้องสมุดนำออกบริการและถูก ใช้จนชำรุด จึงนำกลับเข้ามาซ่อมเพื่อให้มีสภาพเรียบร้อยพร้อมที่จะนำออกบริการ
งานลงรายการและวิเคราะห์หมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศ
กระบวนการในการจัดระบบทรัพยากรสารสนเทศที่ห้องสมุดจัดหาเข้ามาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือช่วยค้นหาทรัพยากรสารสนเทศ ประกอบด้วย การสร้างระเบียนบรรณานุกรม และการวิเคราะห์เนื้อหาสารสนเทศ
คู่มือการทำงาน
MARC21
LC classification
Classificationweb.net
งานจัดเตรียมทรัพยากรสารสนเทศ
การจัดเตรียมทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อให้สะดวกแก่การใช้บริการ
· การเชื่อมโยงบาร์โค้ด และ RFID
· การพิมพ์สัน ติดสัน ติดแถบสี RFID ฯลฯ
· การซ่อมแซมและบำรุงรักษา
กำหนดการส่งทรัพยากรสารสนเทศให้ฝ่ายบริการ
หนังสือ จัดส่งสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
วารสาร ดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 4 ชม.ของทุกวัน
ดรรชนีวารสาร ดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 3 สัปดาห์หลัง
ได้รับตัวเล่มวารสาร
โสตทัศนวัสดุ จัดส่งสัปดาห์ละ 5 รายการ
สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เปิดใช้บริการหลังการยืนยันการจัดซื้อ ราคาไม่เกินล้านบาท ภายใน 15 -30 วัน
ราคาเกินล้านบาท ภายใน 30 วัน
ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ของ สำนักหอสมุก มก.
Koha
LC classification หมวด AC, PZ, TT และ TX
Local call no.
หนังสือสำหรับเด็กและเยาวชน
หนังสือสิ่งแวดล้อม
หนังสือได้รับรางวัล
หนังสือน่าอ่านสำหรับบัณฑิต
หนังสืออภินันทนาการจากสำนักพิมพ์
หนังสือนิยาย เรื่องสั้น เรื่องแปล
Millennium
LC classification
หนังสือทั่วไปภาษาไทย, ภาษาต่างประเทศ
หนังสืออ้างอิง
หนังสือราชวงศ์
สิ่งพิมพ์ มก.
หนังสือขนาดใหญ่พิเศษ
Local call no.
จุลสาร
ผลงานวิชาการ
มอก. / มกอช. / มผช.
การวิจัยของมหาวิทยาลัย และการให้บริการวิชาการแก่สังคม
ทดแทนฉบับพิมพ์
ได้รับตัวเล่มวารสาร
มอก. / มกอช. / มผช.