วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ไอเดียสำหรับคนที่ต้องการทำวิจัยด้านห้องสมุดและบรรณารักษ์

ไอเดียสำหรับคนที่ต้องการทำวิจัยด้านห้องสมุดและบรรณารักษ์
                         


idea-library-research


มีเพื่อนๆ หลายๆ คนชอบมาปรึกษาผมเกี่ยวกับเรื่องหัวข้อในการวิจัยด้านห้องสมุดและบรรณารักษ์
วันนี้ผมเลยขอนำเสนอเรื่องนี้เพื่อให้ไอเดียในการเลือกหัวข้อเพื่อทำวิจัยด้านห้องสมุดและบรรณารักษ์นะครับ
เอาเป็นว่าผมเองก็ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญอะไรมากมายหรอกนะครับ
แต่ผมก็พอจะแนะนำได้บ้างนิดๆ หน่อยๆ
ยังไงเรื่องหัวข้องานวิจัยเพื่อนๆ คงต้องปรึกษาอาจารย์ด้วยส่วนนึงนะครับ
เรื่องการทำวิจัยด้านห้องสมุดและบรรณารักษ์เท่าที่ผ่านมาที่ผมพบมากๆ เช่น
- การวัดความพึงพอใจในงานบริการต่างๆ ของห้องสมุด….
- การใช้งานทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด
- การบริการทั่วๆ ไปของบรรณารักษ์
- ฯลฯ
ซึ่งจากหัวข้อยอดนิยมต่างๆ เหล่านี้? จริงๆ แล้วเพื่อนๆ ก็อาจจะนำไปใช้เป็นแนวทางในการทำงานวิจัยส่งอาจารย์ก็ได้
สำหรับผมจะขอเสนอไอเดียเพื่อสร้างความต่างในงานวิจัยสักหน่อยนะครับ
แต่ต้องขอบอกก่อนนะครับว่า อาจจะเน้นไปในวิชาเฉพาะด้านต่างๆ สักหน่อย
เช่น สายไอที, สายการออกแบบ, สายบัญชี ฯลฯ
หากเอาวิชาชีพด้านบรรณารักษ์มารวมกับวิชาในสายอื่นๆ
เพื่อนๆ จะค้นพบงานวิจัยที่น่าสนใจมากมาย อาทิเช่น
บรรณารักษ์ + ไอที
- ห้องสมุดสมัยใหม่กับการใช้เทคโนโลยีในห้องสมุด
- Library 2.0 กับความเป็นไปได้ของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในเมืองไทย
- ความคุ้มค่าของการนำโปรแกรม Open Source มาใช้ในห้องสมุด
บรรณารักษ์ + การออกแบบ
- การออกแบบห้องสมุดให้เป็นมิตรต่อผู้ใช้บริการ
- ห้องสมุดที่ตอบสนองด้านการบริการผู้ใช้บริการและการทำงานของบรรณารักษ์
- ประโยชน์และความคุ้มค่าของการจัดทำห้องสมุดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
บรรณารักษ์ + การบริหาร
- การมีห้องสมุดสามารถทำให้องค์กรก้าวหน้าได้จริงหรือ
- การหาแหล่งเงินทุนเพื่อการสนับสนุนการทำงานของห้องสมุดเป็นไปได้หรือไม่ในสังคมไทย
บรรณารักษ์ + การเงิน
- แนวทางในการลดค่าใช้จ่ายแต่ไม่ลดคุณภาพในการบริการห้องสมุด
- รายได้ของห้องสมุดกับความคุ้มค่าในการจัดการ

นี่ก็เป็นส่วนนึงที่ผมขอเสนอไอเดียนะครับ
นอกจากนี้ผมเคยคุณกับเพื่อนๆ หลายๆ คน ซึ่งแต่ละคนก็มีหัวข้อมาเสนอผมอีกเช่นเดียวกัน เช่น
- ผู้บริหารกับการให้ความสำคัญต่อห้องสมุดภาครัฐและภาคเอกชน
- แหล่งข้อมูล online ที่ใช้ในการสืบค้นสารสนเทศของนักศึกษาในปัจจุบัน
- กิจกรรมการส่งเสริมการอ่านที่ได้ผลจริงกับคนไทยในปัจจุบัน

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นเพียงส่วนนึงเท่านั้นนะครับ
หากเพื่อนๆ คนไหนมีไอเดียดีๆ ก็สามารถส่งมาแบ่งปันให้เพื่อนๆ ร่วมวิชาชีพได้รับทราบกันบ้างหล่ะ
ยิ่งถ้าเราช่วยกันคิดกันมากเท่าไหร่ วงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทยคงพัฒนามากขึ้น

อ้างอิง :http://www.libraryhub.in.th/2010/07/05/idea-for-research-about-library-and-librarian-in-thailand/comment-page-1/#comment-15409

LICENSING สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบรรณารักษ์ (ควรมีหรือไม่)

LICENSING สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบรรณารักษ์ (ควรมีหรือไม่)
         
artlibrary_01

                   มีเพื่อนๆ หลายคนถามผมว่า “วิชาชีพห้องสมุด” และ “วิชาชีพบรรณารักษ์”
ควรมีการสอบวัดความสามารถและออกใบรับรองผลกันบ้างหรือไม่
วันนี้ผมจึงขอหยิบเรื่องการสอบใบประกอบวิชาชีพบรรณารักษ์มาเขียน
เผื่อว่ามันอาจจะช่วยให้เราคิดและผลักดันวิชาชีพของเราให้มีการตื่นตัวกันมากขึ้น
เพื่อนๆ เคยทราบมั้ยครับว่า ประเทศนึงในกลุ่มอาเซียน
ให้ความสำคัญกับวิชาชีพบรรณารักษ์มาก นั่นคือ ประเทศฟิลิปปินส์
มากจนถึงขั้นว่าต้องมีการสอบ “ใบประกอบวิชาชีพบรรณารักษ์” กันเลย
ใบนี้สำคัญแค่ไหน —> เอาเป็นว่า ถ้าไม่มีใบนี้คุณไม่สามารถทำงานบรรณารักษ์ได้
แล้วถ้าทำงานด้านนี้โดยไม่มีใบประกอบวิชาชีพหล่ะ แน่นอนครับก็ต้องมีบทลงโทษเช่นกัน
ปีหนึ่งมีการสอบเพียงครั้งเดียว พลาดแล้วต้องรอปีหน้า
วัดผลกันแบบว่าต้องให้ผ่านเท่านั้น “ไม่ใช่แค่ไปสอบก็ผ่าน”
ผมขอสรุปผลการสอบในปีที่ผ่านมาให้เพื่อนๆ อ่านกันหน่อยดีกว่า
โดยปีที่ผ่านมาเขาสอบกันไปวันที่ 23-24 เมษายน 2557 ครับ
ปี 2014 มีคนผ่านเพียงแค่ 28% (สอบ 533 คน ผ่าน 149 คน) 
นับเป็นปีที่มีคนผ่านน้อยกว่าปี 2012(47%) และ 2013(46%)
สอบอะไรบ้าง และ คิดคะแนนยังไง
จัดสอบโดย Professional Regulation Commission
- Organization, management and maintenance of multimedia based library or information service, laws, trends and pratices affecting the profession (20%)
- Reference, Bibliography and information services (20%)
- Selection and Acquisition of multimedia source of information (15%)
- Cataloguing and Classification (20%)
- Indexing and Abstracting (15%)
- Information Technology (10%)
เอาเป็นว่าแค่เห็นไกด์ในการสอบแล้ว ผมก็อึ้งแบบเล็กๆ
หน่วยงานที่จัดได้รับการรับรอง การสอบได้มาตรฐาน และที่สำคัญมีผลบังคับใช้
เพื่อนๆ อาจมองว่าต้องเป็นคนฟิลิปปินส์อย่างเดียวหรือเปล่าที่ต้องสอบ
เปล่าครับ ถึงแม้คนต่างชาติที่ต้องไปทำงานด้านนี้ก็ต้องสอบด้วยเช่นเดียวกัน
ไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น
เมื่อรวมเป็นประชาคมอาเซียนเผื่อมีคนสนใจไปทำงานที่นั่น 
ก็อย่าลืมไปสมัครสอบด้วยนะครับ ไม่งั้นนอกจากจะไม่ได้ทำงานแล้ว 
อาจโดนลงโทษทางกฎหมายก็ได้นะ

อ้างอิง :http://www.libraryhub.in.th/2014/05/14/librarians-licensure-examination-in-philippines/

ห้องสมุดวัดพระธรรมกาย รับสมัครบรรณารักษ์ 1 อัตรา ด่วน

ห้องสมุดวัดพระธรรมกาย รับสมัครบรรณารักษ์ 1 อัตรา ด่วน

                DMC_Librarian_job

          วันนี้นายห้องสมุดขอนำเสนองานห้องสมุดอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งจริงๆ เคยคิดเหมือนกันว่าในวัดหลายๆ แห่งก็มีห้องสมุดมีที่ไหนอยากรับสมัครบรรณารักษ์บ้างมั้ย วันนี้มีคนฝากข่าวมาประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการรับสมัครบรรณารักษ์ในห้องสมุดวัด แถมวัดนี้มีความน่าสนใจอีกด้วย นั่นคือ ห้องสมุด วัดพระธรรมกาย
รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงานนี้
ชื่อตำแหน่ง : บรรณารักษ์ (สามารถเริ่มงานได้ทันที)
จำนวน : 1 ตำแหน่ง
สังกัด / หน่วยงาน : วัดพระธรรมกาย
สถานที่ปฏิบัติงาน : ห้องสมุด วัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานี
อย่างที่เขียนไว้ด้านบนว่าบรรณารักษ์ที่สามารถเริ่มงานได้ทันทีจะดีมากๆ ดังนั้นแบบว่างานด่วนมากๆ
น้องๆ ที่สนใจอ่านคุณสมบัติเบื้องต้นต่อได้เลย
- เพศหญิง
- อายุ 20 – 27 ปี
- นับถือพระพุทธศาสนา
- สามารถรักษาศีล 5 ได้
- วุฒิปริญญาตรี สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
- มีความรู้และทักษะด้านการสืบค้นข้อมูลคอมพิวเตอร์
- สามารถใช้โปรแกรมพื้นฐานการทำงานได้ เช่น MS Office
- กำหนดเลขหมู่และแยกประเภทหัวเรื่องได้ตามระบบ Library of Congress (หนังสือภาษาอังกฤษ)
อ้างอิง :http://www.libraryhub.in.th/2013/03/21/dhammakaya-library-want-librarian/

เทคโนโลยี BIOMETRIC กับหน้าจอสัมผัสที่สามารถจดจำลายนิ้วมือได้

เทคโนโลยี BIOMETRIC 

กับหน้าจอสัมผัสที่สามารถจดจำลายนิ้วมือได้


หน้าจอสัมผัสชนิดใหม่ที่สามารถระบุผู้ใช้งานได้ผ่านลายนิ้วมือนั้นกำลังจะเกิดขึ้นในไม่ช้า ซึ่งอุปกรณ์ชนิดนี้จะสามารถมอบนิยามใหม่กับความปลอดภัยในระบบออนไลน์ รวมถึงวิธีที่เราใช้งานคอมพิวเตอร์ในที่สาธารณะด้วย
เทคโนโลยีหน้าจอสัมผัสในตอนนี้นั้นปล่อยแสงออกมาแต่ไม่สามารถรับรู้ถึงการมีอยู่ของแสงได้ ซึ่งทำให้เป็นไปไม่ได้ที่จะจดจำลายนิ้วมือของผู้ใช้งานเว้นเสียแต่ว่าจะมีตัวเซ็นเซอร์ต่างหากถูกติดตั้งเพิ่มลงไปในหน้าจอ ซึ่งสองนักวิจัย Christian Holz และ Patrick Baudisch จาก Hasso Plattner Institute ที่เยอรมันต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงมัน
หน้าจอนั้นไม่สามารถแสกนลายนิ้วมือได้ และเซ็นเซอร์ตรวจหาลายนิ้วมือนั้นก็ไม่สามารถแสดงภาพได้เช่นกัน สิ่งที่เราได้คิดค้นขึ้นมานั้นทำได้ทั้งสองอย่างไปพร้อมๆกัน ซึ่งยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน” Holz กล่าว
รุ่นทดลองที่พวกเขาสร้างขึ้นในหน้าจอแก้วที่มีขนาดเท่ากับแทบเบล็ตขนาดใหญ่ ซึ่งภายในบรรจุไปด้วยเส้นใยแก้วนับล้านรวมอยู่ด้วยกัน เส้นใยแต่ละเส้นนั้นจะปล่อยแสงสว่างออกจากภาพที่ถูกฉายอยู่ข้างใต้หน้าจอ ในขณะเดียวกันก็ยิงแสงอินฟราเรดออกไปเพื่อให้สะท้อนนิ้วมือกลับมาที่กล้องอินฟาเรด
Holz กล่าวว่าในการทดสอบขึ้นตอนนั้น ความแม่นยำของอุปกรณ์นั้นเทียบเท่ากับมาตรฐานของหน่วยงาน FBI เลย ซึ่งทั้งคู่นั้นก็กำลังพยายามที่จะสร้างหน้าจอสัมผัสที่ไม่จำเป็นต้องใช้ตัวโปรเจกเตอร์อยู่ในตอนนี้

ทั้ง Holz และ Baudisch นั้นได้จินตนาการถึงร้านกาแฟที่ลงทุนไปกับโต๊ะหน้าจอสัมผัสที่ลูกค้าสามารถใช้งานอินเตอร์เน็ต ตอบอีเมล์หรือทำงานง่ายๆได้โดยไม่ต้องพกเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาเข้ามาในร้าน  ด้วยเทคโนโลยีที่สามารถช่วยให้จดจำลายนิ้วมือดังกล่าวนี้ เหล่านักวิจัยได้จินตนาการไปถึงสภาพแวดล้อมที่เอกสารคอมพิวเตอร์สำคัญๆสามารถส่งต่อให้กันอย่างปลอดภัยได้ง่ายๆเสียที

i-Secure พันธมิตร UIH คว้ารางวัลสุดยอด MSSP ต่อเนื่องปีที่ 2


i-Secure พันธมิตร UIH คว้ารางวัลสุดยอด MSSP ต่อเนื่องปีที่ 2


                    
                            ตอกย้ำความสำเร็จทางด้าน ICT Security ของ i-Secure อีกครั้ง กับรางวัลผู้ให้บริการทางด้านการจัดการระบบรักษาความปลอดภัยทางด้านสารสนเทศยอดเยี่ยมแห่งปี (Managed Security Services Provider of the Year 2014)
นับเป็นปีที่ 2 ต่อเนื่องกัน ที่ i-Secure พันธมิตรทางด้าน ICT Security ของ UIH ได้รับรางวัลอันทรงเกียรตินี้จากงาน 2014 Frost & Sullivan Thailand Excellence Awards i-Secure ผู้ให้บริการด้านความปลอดภัยข้อมูลสารสนเทศ หรือ ICT Security ได้รับมอบรางวัลอันทรงเกียรติจาก Frost & Sullivan องค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลก ต่อเนื่องเป็นปีที่

                           ทั้งนี้ i-Secure ยังคงเดินหน้าให้ความรู้และให้คำปรึกษาทางด้าน ICT Security อย่างต่อเนื่องกับองค์กรลูกค้า และยังพัฒนาบริการให้ทันสมัยโดยรู้เท่าทันภัย สามารถป้องกันภัยคุกคามทางด้านไซเบอร์ทุกด้านอย่างครบถ้วน ซึ่งใช้ 3 แนวคิดหลัก คือ การป้องกัน (Protection) การตรวจสอบ (Detection) และการแก้ไข (Correction) นอกจากนี้ ยังพัฒนาบริการให้เหมาะสมกับความต้องการใช้งานของลูกค้า i-Secure นำบริการด้าน Security as a Service บริการ Security ในรูปแบบ Cloud Services เป็นบริการที่คุ้มค่าสำหรับลูกค้าที่ไม่ต้องการลงทุนด้านอุปกรณ์ อาทิ Cloud Protection, Cloud WAF, Security Monitoring Service, Log Management Service, Cloud Wifi
                      พร้อมกันนี้ ยังเดินหน้าต่อเนื่องในบริการทางด้าน Managed Services คือ บริการด้าน Security อย่างครบวงจรสำหรับลูกค้าที่ต้องการความปลอดภัยสูงสุดโดยที่มีผู้เชี่ยวชาญด้าน Security ดูแลอย่างใกล้ชิด นอกจากการพัฒนาบริการด้าน Security อย่างครบวงจรแล้ว ยังมีการคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญด้าน Security ที่มีความรอบรู้และมีทักษะเฉพาะด้านมาร่วมทีมอยู่เสมอ เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่า ระบบสารสนเทศของลูกค้าองค์กรจะมีความปลอดภัย ข้อมูลสูงสุด โดยมีผู้เชี่ยวชาญทางด้าน Security ดูแลอย่างใกล้ชิด

อ้างอิง : http://www.thairath.co.th/content/426494

วันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2557

BLOG
Blog คืออะไร
     
                              Blog มาจากศัพท์คำว่า WeBlog บางคนอ่านคำ ๆ นี้ว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้งสองคำบ่งบอกถึงความหมายเดียวกัน ว่านั่นคือบล็อก (Blog)
      ความหมายของคำว่า Blog ก็คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ โดยเนื้อหาของ blog นั้นจะครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่าง ๆ เช่น เรื่องการเมือง เรื่องกล้องถ่ายรูป เรื่องกีฬา เรื่องธุรกิจ เป็นต้น โดยจุดเด่นที่ทำให้บล็อกเป็นที่นิยมก็คือ ผู้เขียนบล็อก จะมีการแสดงความคิดเห็นของตนเองใส่ลงไปในบทความนั้น ๆ โดยบล็อกบางแห่ง จะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านสูงมาก แต่ในขณะเดียวกัน บางบล็อกก็จะเขียนขึ้นมาเพื่อให้อ่านกันในกลุ่มเฉพาะ เช่นกลุ่มเพื่อน ๆ หรือครอบครัวตนเอง
                                  มีหลายครั้งที่เกิดความเข้าใจกันผิดว่า Blog เป็นได้แค่ไดอารี่ออนไลน์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไดอารี่ออนไลน์เปรียบเสมือน เนื้อหาประเภทหนึ่งของบล็อกเท่านั้น เพราะบล็อกมีเนื้อหาที่หลากหลายประเภท ตั้งแต่การบันทึกเรื่องส่วนตัวอย่างเช่นไดอารี่ หรือการบันทึกบทความที่ผู้เขียนบล็อกสนใจในด้านอื่นด้วย ที่เห็นชัดเจนคือ เนื้อหาบล็อกประเภท วิจารณ์การเมือง หรือการรีวิวผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ตัวเองเคยใช้ หรือซื้อมานั่นเอง อีกทั้งยังสามารถแตกแขนงไปในเนื้อหาในประเภทต่าง ๆ อีกมากมาย ตามแต่ที่เจ้าของบล็อกจะเป็นคนที่ถนัดในด้านไหน ก็มักจะเขียนบทความเรื่องที่ตนเองถนัด หรือสนใจเป็นต้น

                                   และจุดเด่นที่สุดของ Blog ก็คือ มันสามารถเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนของบล็อกนั้น ๆ ผ่านทางระบบ comment ของบล็อกนั่นเอง

อ้างอิง : angsila.informatics.buu.ac.th/~athitha/.../blog/Blog.doc